CIO View: กรกฎาคม 2567

Image

 

          ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ประกาศถอนตัวออกจากการเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งปี 2567 หลังดีเบตกับอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้อย่างน่าผิดหวังและทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความพร้อมด้านสุขภาพของประธานาธิบดีคนปัจจุบันอย่างมาก พรรคเดโมแครตตอบสนองเสียงวิจารณ์ดังกล่าวด้วยการเสนอชื่อให้กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบันเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แทนโจ ไบเดน โดยกมลา แฮร์ริสจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากผู้แทนพรรคเดโมแครตถึง 1,986 คนจึงจะได้รับเลือกเป็นตัวแทนของพรรคเพื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ อย่างไรก็ดีมีแนวโน้มว่ากมลา แฮร์ริส จะผ่านการรับรองได้เนื่องจากมีสมาชิกพรรคหลายรายที่แสดงจุดยืนสนันสนุนเธอ ทั้งนี้หลังจากสิ้นสุดการดีเบตครั้งแรกระหว่างผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ดูมีโอกาสสูงมากที่จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกสมัยหนึ่ง แต่การปรากฎตัวของกมลา แฮร์ริสได้พลิกสถานการณ์การเลือกตั้งใหม่และเพิ่มโอกาสที่จะชนะให้แก่พรรคเดโมแครต โดยโพลสำรวจล่าสุด (ข้อมูลจาก FiveThirtyEight.com) แสดงให้เห็นว่ายังไม่สามารถชี้ขาดผลแพ้ชนะระหว่างรีพลับลิกันและเดโมแครตได้หลังผลสำรวจออกมาใกล้เคียงกัน


          ในช่วงที่รายงาน CIO View ฉบับนี้ถูกเผยแพร่ จะเป็นช่วงที่ตลาดทั้งหมดพุ่งความสนใจไปยังการประชุม FOMC ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 ถึง 31 กรกฎาคม ถึงแม้ว่าเราไม่ได้คาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) จะเริ่มลดดอกเบี้ยหลังการหารือครั้งนี้ แต่ด้วยแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ออกมาต่ำกว่าที่คาด น่าจะทำให้ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ออกมาแถลงการณ์หลังการประชุมด้วยเนื้อหาในทำนองที่ว่า “ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดได้เพิ่มความมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังปรับตัวลงมาตามทิศทางที่ถูกต้อง” โดยหากแถลงการณ์ออกมาตามที่เราคาดก็จะทำให้โอกาสที่ธนาคารสหรัฐฯ จะปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนกันยายนนั้นเพิ่มสูงขึ้นอีก จากปัจจุบันที่ตลาดมองว่าโอกาสในการปรับลงนั้นอยู่ที่ 88% อีกทั้งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่อาจปรับเพิ่มประมาณการณ์จำนวนครั้งการปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3 ครั้ง ทั้งนี้การคาดการณ์ดังกล่าวจะสนับสนุนการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือค่อนข้างยาว (Long-duration) ไปจนถึงสิ้นปี รวมถึงการลงทุนในตราสารกลุ่ม Investment Grade และ High Yield


          ในขณะเดียวกัน อีกด้านของมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Reverse repo ระยะเวลา 7 วันลง 0.1% จาก 1.8% เป็น 1.7% พร้อมทั้งปรับลดอัตราดอกเบี้ย LPR (Loan prime rate) ทั้งประเภท 1 ปี และ 5 ปี ลง 0.1% ด้วยเช่นเดียวกัน และภายหลังจากที่ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไม่นาน เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ทาง PBOC ก็ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปี ลง 0.2% พร้อมอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบมูลค่า 2 แสนล้านหยวน ทั้งนี้เรามองว่าโดยปกติแล้วการทำ Open Market Operations (OMO) และดอกเบี้ย LPR เป็นเครื่องมือหลักที่ PBOC ใช้ในการส่งสัญญาณนโยบายการเงิน แต่การประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย MLF ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนกำลังเพิ่มความจริงจังในการแก้ปัญหาการบริโภคภายในประเทศที่อ่อนแอลงซึ่งอาจนำไปสู่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ 


           อย่างไรก็ดีประเด็นที่น่าสนใจที่สุดในรอบเดือนที่ผ่านมาน่าจะเป็นการปรับฐานของตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ซึ่งปรับตัวลดลงถึง 9% ในช่วงระหว่างวันที่ 10 ถึง 25 กรกฎาคม ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับสมมติฐานที่ทางเราได้เขียนไว้ใน CIO View ในช่วงที่ผ่านมาว่า ตลาดหุ้นกำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะปรับฐาน และแม้ว่าในช่วงการรายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2567 บริษัทส่วนใหญ่จะมีผลประกอบการที่ดีกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ แต่ผลกำไรที่ออกมามากกว่าการคาดการณ์นั้นส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่เฉพาะในกลุ่ม Magnificent 7 เท่านั้น ดังนั้นจากการที่ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (All-time High) ประกอบกับ Valuation ของกลุ่ม Magnificent Seven อยู่ในระดับที่สูง จึงไม่น่าแปลกใจที่ผลประกอบการที่ดีกว่าคาดการณ์ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาด ในขณะที่ผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดการณ์กลับส่งผลกระทบเชิงลบต่อตลาดอย่างรุนแรง จากประเด็นดังกล่าวเราจึงมองว่านี่เป็นเหตุผลที่อธิบายการปรับฐานของตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา


          กลยุทธ์การลงทุนในระยะถัดไปเรายังคงมีมุมมองที่ระมัดระวังสำหรับพอร์ตการลงทุนในหุ้นที่มีการกระจุกตัวสูง และมองว่าพอร์ตการลงทุนที่จัดสรรน้ำหนักการลงทุนอย่างเหมาะสมจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับสภาวะตลาดปัจจุบันที่ยังคงผันผวน โดย บลจ. พรินซิเพิล ได้มีกองทุนที่มีกลยุทธ์การจัดสรรสินทรัพย์การลงทุนที่หลากหลายแตกต่างกันตามระดับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวม ตั้งแต่กลยุทธ์ความเสี่ยงปานกลางไปจนถึงกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงสูง เริ่มจากกองทุนเปิดพรินซิเพิล สตราทีจิค อินคัม ฟันด์ (PRINCIPAL SIF) ซึ่งเป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีความระมัดระวังการลงทุนในหุ้นและต้องการผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ โดยกองทุนมีกลยุทธ์ที่จะลงทุนประมาณ 60% ในสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ เช่น ตราสารหนี้ และประมาณ 40% ในสินทรัพย์ที่เน้นการเติบโต เช่น หุ้น เป็นต้น ต่อมาได้แก่ กองทุนเปิดพรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม (PRINCIPAL iBALANCED) ซึ่งมีกลยุทธ์การลงทุนมุ่งเน้นความสมดุลกันระหว่างสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ และสินทรัพย์ที่มุ่งเน้นการเติบโต โดยจะลงทุนประมาณ 50% ในสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนสม่ำเสมอ เช่น ตราสารหนี้ และ กองทุนที่มีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Absolute return และลงทุนประมาณ 50% ในสินทรัพย์ที่เน้นการเติบโต เช่น หุ้น เป็นต้น และสุดท้ายกองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล มัลติ แอสเซท (PRINCIPAL GMA) ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มุ่งเน้นการเติบโตมากกว่าการได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ โดยกองทุนมีกลยุทธ์ที่จะลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ เช่น ตราสารหนี้ และ กองทุนที่มีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Absolute return ประมาณ 30% และลงทุนในสินทรัพย์ที่เน้นการเติบโต เช่น หุ้น ประมาณ 70% ทั้ง 3 กองทุนเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการกระจายความเสี่ยงออกจากการลงทุนอย่างกระจุกตัวในหุ้นเพียงสินทรัพย์เดียว ทั้งนี้เรายังคงแนะนำอย่างต่อเนื่องให้นักลงทุนกระจายการลงทุนไปยังกลุ่มต่างๆ เช่น ตราสารหนี้ หุ้น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) สินค้าโภคภัณฑ์ Listed Private Assets และกองทุนที่มีกลยุทธ์การลงทุนแบบ Absolute Return เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

 

Image

 

Image

 

Image

 

Image

 

กองทุนที่แนะนำ

 

กองทุนที่แนะนำ

ข้อมูลกองทุน

กองทุนเปิดพรินซิเพิล สตราทีจิกค อินคัม ฟันด์ (PRINCIPAL SIF-A)

https://www.principal.th/th/principal/SIF 

กองทุนเปิดพรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม D (PRINCIPAL iBALANCED-D)

https://www.principal.th/th/principal/ iBALANCED-D 

กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล มัลติ แอสเซท A (PRINCIPAL GMA-A)

https://www.principal.th/th/principal/GMA-A



Disclaimer: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / การลงทุนในหน่วยลงทุน มิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้ ดังนั้นผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนนี้เมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนรวมนี้ เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของผู้ลงทุน และผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จากการลงทุนได้ / PRINCIPAL GMA ลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย /กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าทุนเริ่มแรกได้/ บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต