กองทุน ThaiESG วางแผนลดหย่อนภาษี ไปกับธุรกิจที่มุ่งหน้าสู่ความยั่งยืน

Image

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด นำโดยนายต่อ อินทวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ ได้ร่วมงานแถลงข่าว "แถลงความพร้อมของอุตสาหกรรมและเปิดตัวกองทุน ThaiESG ปี 2567"  ณ ห้องประชุม เสรี จินตนเสรี ชั้น 7 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมร่วมสนับสนุนกองทุน ThaiESG โฉมใหม่ที่ดีต่อใจ ได้สองต่อ ทั้งขยายวงเงินลดหย่อนภาษีเป็น 300,000 บาท และลดระยะเวลาถือครองเหลือเพียง 5 ปี

นายต่อ อินทวิวัฒน์ เปิดเผยว่า บลจ.พรินซิเพิล ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนระยะยาวเพื่อการออมของคนไทย ผ่านกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน Thai ESG โดยมุ่งเน้นการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินไทยที่เกี่ยวข้องกับ ESG ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล
  
เราให้ความสำคัญในเรื่อง ESG โดยทาง Principal Global Investor ร่วมลงนามใน Principles for Responsible Investment (UNPRI) ในปี 2010 และ Principal Asset Management (South East Asia) ในปี 2019  โดยบลจ.พรินซิเพิล มีกระบวนการลงทุนที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะการประเมินทางด้าน ESG Integration Framework ในการประเมินคะแนนใน 5 ปัจจัย ได้แก่ ธรรมาภิบาล, สิ่งแวดล้อม, สังคม, หลักการด้านการบริหารจัดการด้าน ESG ของบริษัท และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเป็นหนึ่งในกระบวนการคัดเลือกตราสารคุณภาพในการลงทุน 



กองทุนเปิดพรินซิเพิล อิควิตี้ ESG (PRINCIPAL EQESG-ThaiESG) มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ที่อยู่ในดัชนีความยั่งยืนจากที่ได้รับการคัดเลือกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือองค์กรสถาบันที่ สำนังาน กลต ยอมรับ หรือได้คะแนน ESG สูงจากการประเมินภายในของทีมจัดการลงทุนพรินซิเพิล ที่มีแนวทางการลงทุนแบบ Active โดยมีเป้าหมายผลตอบแทนชนะดัชนี SET ESG TRI ในระยะยาว  รวมทั้งบริหารจัดการโดยทีมผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง พิสูจน์จากความสำเร็จของ บลจ. พรินซิเพิล ที่ได้รับรางวัลกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปีจากงาน Money & Banking Awards โดยวารสารการเงินธนาคาร Best Asset Management Awards กองทุนยอดเยี่ยมประเภทกองทุนตราสารทุนในประเทศและกองทุนยอดเยี่ยมประเภทกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตราสารทุน  ซึ่งทั้งสองรางวัลพิสูจน์ด้านการบริหารกองทุนหุ้นไทย 

ท้ายนี้ บลจ.พรินซิเพิล ขอเชิญชวนกันวางแผนทางการเงินด้วยกองทุนลดหย่อนภาษี ThaiESG นอกจากสิทธิการลดหย่อนภาษี และโอกาสการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน 
เรายังมีโปรโมชั่น สำหรับลูกค้าที่ลงทุนในกองทุนพรินซิเพิล อิควิตี้ ESG ทุกๆ ยอดลงทุน 50,000 บาทจะได้รับหน่วยลงทุนกองทุน PRINCIPAL DPLUS มูลค่า 100 บาท

อ่านข้อมูลกองทุน PRINCIPAL EQESG-ThaiESG เพิ่มเติมได้ที่ https://www.principal.th/th/principal-taxsaving-thaiesg
และสามารถดูรายละเอียดรายการส่งเสริมการขายสำหรับผู้ลงทุนในกองทุน SSF/RMF/ThaiESG 2024 ได้ที่ https://www.principal.th/th/Promotion_SSF_RMF_ThaiESG_2024


กองทุน ThaiESG ลงทุนยั่งยืน พร้อมคืนภาษี

ลงทุนกับธุรกิจที่มุ่งหน้าสู่ความยั่งยืน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล 

Image

 

Image


รับชมวีดีโอสรุป สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุน ThaiESG 

สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ ThaiESG

  • ไม่กำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน และไม่กำหนดเงื่อนไขการซื้อต่อเนื่อง
  • เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของ ThaiESG บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีเงินได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน ThaiESG ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 300,000 บาท/คน/ปี (ไม่รวมวงเงินกลุ่มเกษียณที่รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท)

เงื่อนไขการถือครองหน่วยลงทุน ThaiESG เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

สำหรับผู้ที่ซื้อหน่วยลงทุน ThaiESG ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2569

  • ผู้ลงทุนสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาตามที่กรมสรรพากรกำหนด (5 ปี นับจากวันที่ลงทุน – วันชนวัน)
  • กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) ThaiESG – เงินได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนที่เป็นไปตามเงื่อนไข จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามที่กรมสรรพากรกำหนด
  • ระยะเวลาในการลดหย่อนภาษีของหน่วยลงทุน ThaiESG – ผู้ลงทุนสามารถหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุน ThaiESG ได้ตามจำนวนที่ซื้อทุกปีจนถึงปีพ.ศ. 2569 (กระทรวงการคลังจะพิจารณาต่ออายุโครงการในภายหลัง)
  • อย่าลืมแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษี ต่อบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) ที่ผู้ลงทุนได้ซื้อหน่วยลงทุนด้วย (อย่าลืม! สำหรับผู้ที่ซื้อหน่วยลงทุน ThaiESG เฉพาะในปี 2566 ต้องถือครองอย่างน้อย 8 ปี (วันชนวัน))

    คำเตือน : เงื่อนไขลดหย่อนภาษีเป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าว และควรทําความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน
     

ความสำคัญของ ESG ต่อประเทศไทย 

ดูสรุปความสำคัญ ESG Infographic คลิก

ข้อมูลกองทุนสิทธิประโยชน์ทางภาษี

Image

 

7 ข้อสงสัยเกณฑ์ใหม่ กองทุน ThaiESG ปี 2567

Image

 

คำถามที่พบบ่อย FAQ

กองทุน ThaiESG ต่างกับ SSF-RMF อย่างไร ?

ความเหมือนคือ ถือเป็นกองทุนรวมลดหย่อนภาษีเหมือนกัน แต่มีจุดที่แตกต่างหลักๆ คือระยะเวลาการลงทุน สินทรัพย์ที่ลงทุนได้ และสิทธิประโยชน์ทางภาษี

กองทุน ThaiESG ซื้อแล้วต้องถือไว้นานแค่ไหน ?

ต้องถือหน่วยลงทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน (วันชนวัน) (ยกเว้นกรณีผู้ซื้อกองทุนทุพพลภาพหรือเสียชีวิต)

กองทุน ThaiESG ปรับเงื่อนไขใหม่ ดีต่อผู้ลงทุนอย่างไร ?

กองทุน ThaiESG ปรับเงื่อนไขการลงทุนใหม่ สำหรับผู้ที่ซื้อหน่วยลงทุนระหว่าง วันที่ 1 ม.ค. 67 – 31 ธ.ค. 69 ดังนี้

1) ขยายวงเงินลดหย่อนภาษีเงินได้เป็น 300,000 บาทต่อคนต่อปี
2) ลดระยะเวลาถือครองหน่วยลงทุนเหลือ 5 ปี นับจากวันลงทุน (วันชนวัน)

กองทุน ThaiESG เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนระยะยาวในกิจการที่มีความโดดเด่นด้านความยั่งยืน (ESG) ควบคู่ไปกับการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพราะนอกจากไม่มีขั้นต่ำในการลงทุน ไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีแล้ว ยังสามารถนำเงินที่ได้ซื้อหน่วยลงทุน ThaiESG มาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ต้องไม่เกิน 300,000 บาทต่อคนต่อปี  (ไม่รวมวงเงินกลุ่มเกษียณเช่น RMF / SSF / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / ประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นต้น)

กำไร (Capital Gain) ที่ได้รับจากการขายกองทุน ThaiESG ต้องเสียภาษีหรือไม่ ?

เมื่อครบกำหนดขายกองทุนตามเงื่อนไข ผู้มีเงินได้ไม่ต้องนำเงินหรือผลกำไร (Capital Gain) ที่ได้รับมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้ลงทุนต้องแจ้งความประสงค์ เพื่อขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี กับ บลจ. หรือไม่ ?

ผู้ลงทุนจะต้องแจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับ บลจ. มิเช่นนั้น จะไม่สามารถนำค่าซื้อหน่วยลงทุน ThaiESG ไปยกเว้นภาษีได้ ในกรณีที่ผู้ลงทุนเคยแจ้งไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งซ้ำอีก ยกเว้นมีเปลี่ยน บลจ. จะต้องแจ้งให้แล้วเสร็จภายในวันทำการสุดท้ายของปี

ซื้อกองทุน ThaiESG หลายกองทุนได้หรือไม่ ?

สามารถซื้อกองทุน ThaiESG ได้หลายกองทุน โดยจำนวนเงินลงทุนรวมกันต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 300,000 บาท