โรคร้ายจากมลพิษกับ "ค่ารักษาพยาบาล" ที่ต้องจ่าย

principal-pollution-cased-diseases-treatment-cost

“เชื่อหรือไม่! ว่ามลพิษในอากาศที่เราพบเจอบนท้องถนน อาจพรากชีวิตเราไป ก่อนเวลาอันควรได้”

มลพิษที่ถูกพูดถึงมากที่สุด คงนี้ไม่พ้น “PM 2.5” ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยน้อยกว่า 2.5 ไมครอน เมื่อเราสูดเข้าไปและสะสมเป็นจำนวนมาก อาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเข้าไปทำลายตั้งแต่จมูก คอ จนลงไปถึงปอดและหัวใจได้


อาการจะเริ่มต้นที่การไอ จาม เจ็บคอ หายใจติดขัด ซึ่งสามารถรักษาด้วยการทานยาและการพักผ่อนได้ แต่หากลุกลามไปจนถึงโรคระบบทางเดินหายใจ รวมถึงกลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม/ปอดอักเสบ โรคหอบหืด โรคมะเร็งปอด โรคถุงลมปอดโป่งพอง และโรคหัวใจขาดเลือด ค่ารักษาพยาบาลจะอยู่ที่เท่าไร?

ยกตัวอย่างค่ารักษาจากโรงพยาบาลเอกชน

โรคมะเร็งปอด*

  • ในระยะเริ่มต้น ค่ารักษาโดยประมาณ 500,000 บาท
  • ในระยะแพร่กระจาย ค่ารักษาโดยประมาณสูงถึง 2,000,000 บาท

*รวมค่าใช้จ่ายจากค่าวินิจฉัยโรค เคมีบำบัด รังสีรักษา ผ่าตัด และยารักษามะเร็งแบบพุ่งเป้า

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายครั้งแรก จากการขาดเลือด 

  • ค่ารักษาโดยประมาณ 400,000-700,000 บาท

 

วิธีป้องกันตัวเองและช่วยลดมลพิษเบื้องต้น

1. เช็กคุณภาพอากาศ ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ

AQความหมาย
0-50 (สีฟ้า)คุณภาพอากาศดี ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
51-100 (สีเขียว)คุณภาพอากาศปานกลาง ไม่มีผลต่อสุขภาพ
101-200 (สีเหลือง)คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคาร 
- เด็กและผู้สูงอายุไม่ควรทำกิจกรรมภายนอกอาคารเป็นเวลานาน
201-300 (สีส้ม)คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพมาก
- ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกอาคาร
- เด็กและผู้สูงอายุควรจำกัดการออกกำลังกายนอกอาคาร
มากกว่า 300 (สีแดง)คุณภาพอากาศอันตราย
- บุคคลทั่วไปควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายนอกอาคาร
- ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจควรอยู่แต่ภายในอาคาร

2. ลดกิจกรรมกลางแจ้ง ควรลดเวลาในการทำกิจกรรมการแจ้ง เมื่อคุณภาพอากาศอยู่ในระดับที่มีผลต่อสุขภาพ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมการแจ้ง เมื่อคุณภาพอากาศอยู่ในระดับที่อันตราย

3. สวมหน้ากากอนามัย หากต้องออกนอกอาคาร การสวมหน้ากากอนามัยชนิดมีตัวกรอง จะช่วยกรองอนุภาคขนาดเล็กจากอากาศที่หายใจได้

4. พักผ่อนให้เพียงพอ ร่างกายของแต่ละคนเมื่อสูดมลพิษเข้าไป จะออกฤทธิ์ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเมื่อเราหลีกเลี่ยงมลพิษไม่ได้ เราสามารถซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้จากการพักผ่อนให้เพียงพอ

วางแผนการเงินอย่างไร เพื่อรับมือมลพิษ
ได้เห็นตัวเลขค่ารักษาพยาบาลไปแล้ว หลายๆ คนอาจจะคิดว่า หากดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี ก็ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายในการรักษาได้  แต่ในความเป็นจริง โรคภัยเหล่านี้อาจเกิดกับเราได้ทุกเมื่อ ดังนั้นหากไม่อยากเสียเงินไปกับค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด 100% เราสามารถรับมือได้ 2 ทาง

ทางเลือกที่ 1 โอนความเสี่ยงให้กับบริษัทประกัน ด้วยการทำประกันสุขภาพ 
ประกันสุขภาพจะเข้ามาช่วยในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล แบ่งเป็นแบบเหมาจ่าย จะคุ้มครองค่ารักษาทุกอย่างที่เกิดขึ้น ตามวงเงินที่เราได้เลือกไว้ เช่น 1 ล้านบาท / 3 ล้านบาทต่อปี และแบบแยกค่ารักษา จะกำหนดเงื่อนไขความคุ้มครองไว้ชัดเจน เช่น ค่าแพทย์ผ่าตัดและหัตถการต่อครั้งที่ 100,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ ในโรงพยาบาลต่อครั้งที่ 50,000 บาท

เห็นค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงถึงหลักล้าน แต่ในความเป็นจริง เบี้ยประกันที่เราจ่ายไม่ได้สูงมากขนาดนั้น ซึ่งเบี้ยประกันที่เหมาะสมคือ 10-15% ของรายได้ทั้งปี

ยกตัวอย่าง เงินเดือน 25,000 บาท คิดเป็นปีละ 300,000 บาท ดังนั้น เบี้ยประกันที่เหมาะสมคือ 30,000-45,000 บาท

อาจจะดูเป็นเงินก้อนใหญ่ เพราะเราจ่ายแค่ปีละ 1 ครั้ง แต่หากเราแบ่งเก็บ 10-15% ของเงินเดือน จากเงินหลักหมื่น จะกลายเป็นเงินหลักพันต่อเดือนจากการค่อยๆ ทยอยเก็บออม

ทางเลือกที่ 2 สร้างเป้าหมายการเงินเพื่อการรักษาพยาบาล
    จากทางเลือกที่ 1 จะเห็นว่าเราจ่ายเบี้ยประกันเพียงปีละ 1 ครั้ง ซึ่งด้วยระยะเวลา 1 ปี เราสามารถนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ-ปานกลางได้ เช่น

  1. เงินฝากประจำ - เป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี มีระยะเวลาการฝากให้เลือกหลากหลาย แต่สำหรับการจ่ายเบี้ยประกัน จะเหมาะสมกับการเลือกรอบการฝากเป็น 6 เดือน หรือ 12 เดือน
  2. กองทุนรวมตลาดเงิน - เป็นการลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ทำให้มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ และมีสภาพคล่องที่สูง หลังจากทำรายการขาย รอเงินเข้าบัญชีเพียง 1 วันทำการเท่านั้น
  3. กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น - เป็นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากกว่าเงินฝากเล็กน้อย ดังนั้นจะมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงกว่ากองทุนรวมตลาดเงินด้วย สภาพคล่องก็ยังถือว่าสูงเช่นกัน หลังจากทำรายการขาย รอเงินเข้าบัญชีเพียง 1-2 วันทำการ (ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน)

ทั้งนี้สำหรับผู้อ่านที่สนใจสร้างเป้าหมายการเงินเพื่อการรักษาพยาบาลผ่านกองทุนรวม ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า(กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง  และผลการดำเนินงาน ของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่าง ๆ หรือให้ขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ ก่อนการตัดสินใจลงทุน


อ่านข้อมูลเพิ่มเติมของ บลจ.พรินซิเพิล ได้ที่ https://www.principal.th/th/mutual-fundth

ที่มา
ข้อมูลโรคทางเดินหายใจ : https://www.paolohospital.com 
ข้อมูลค่ารักษาโรคมะเร็งปอด : https://elife.azay.co.th/CancerNoWorries/articleDetail014 
ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ : http://www.pcd.go.th/info_serv/air_aqi.htm