ข้อดีของการสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเต็ม 15%

Image

เคยสงสัยไหมว่า? กองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องออมเท่าไรถึงจะพอสำหรับเกษียณ

ในวันที่ต้องเกษียณ การเตรียมพร้อมด้านการเงิน ด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะช่วยให้เรามีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณ คำถามคือ ต้องออมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเท่าไรถึงจะสร้างความมั่นคงทางการเงินหลังเกษียณ?

วันนี้เราจะมาดูข้อดีของการสะสมกองทุนในอัตราสูงสุด 15% ที่ช่วยเพิ่มเงินออมสำหรับการเกษียณได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ มาติดตามไปพร้อมกัน กับบลจ.พรินซิเพิล

Image

การออมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเต็มอัตรา 15% ช่วยสะสมเงินออมให้เพียงพอสำหรับการเกษียณและรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในทุกปี

ทริคบริหารเงินให้มีเหลือเก็บด้วยการออม ควรเก็บเงินอย่างน้อยเดือนละ 10-20% ของรายได้ ดังนั้นการสะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพสูงสุด 15% ทุกเดือนจะช่วยสร้างวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอจนถึงอายุ 55 ปีหรือหลังเกษียณ ก็ยังสามารถคงเงินไว้ต่อเพื่อให้เงินงอกเงยต่อไปสำหรับค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ ไม่ว่าจะเป็นค่าครองชีพรายวัน ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อสร้างความสุขในชีวิต

การสะสมในอัตราสูงสุดนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณมีเงินเก็บมากขึ้นในอนาคต แต่ยังสามารถนำไปเป็นสิทธิประโยชน์ต่างๆ ด้านภาษีได้ ดังนี้

1. ลดหย่อนภาษี: ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง และสูงสุด 500,000 บาทต่อปี ตัวอย่างเช่น นายพรินได้รับเงินเดือนทั้งปีรวม 420,000 บาท มีรายได้จากงานประจำทางเดียว และมีค่าลดหย่อนส่วนตัวเพียงรายการเดียว จะมีเงินได้สุทธิอยู่ที่ 260,000 บาท (รายได้รวมทั้งปี 420,000 บาท - ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท – ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท) จะมีฐานภาษีอยู่ที่ 5% และจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 42,000 บาท ทำให้ประหยัดภาษีได้ 2,100 บาท หรือ 5% ของเงินสะสม

2. ยกเว้นภาษีเมื่อเกษียณ: สำหรับสมาชิกที่อายุครบ 55 ปี และเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 

Image

4 ส่วนสำคัญของเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

มารู้จัก 4 ส่วนสำคัญของเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกัน เพราะนอกจากเงินสะสมที่ลูกจ้างออมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในทุกเดือน ยังมีเงินสมทบจากนายจ้างและผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวที่จะช่วยให้มีโอกาสสะสมเงินออมได้มากขึ้น ดังนี้

1. เงินสะสม: จำนวนเงินที่ลูกจ้างออมจากเงินเดือนเพื่อนำไปสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยอัตราการออมอยู่ระหว่าง 2-15% ของเงินเดือน ลูกจ้างสามารถเลือกอัตราที่เหมาะสมกับตนเองได้ตามความพร้อมและความสามารถในการออม
2. เงินสมทบ: นายจ้างจะต้องสมทบเงินเข้ามาในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยอัตราเงินที่นายจ้างสมทบนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทตอนจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
3. ผลประโยชน์ของเงินสะสม: ผลตอบแทนที่เกิดจากการลงทุนของเงินสะสม เช่น ดอกเบี้ยหรือเงินปันผล
4. ผลประโยชน์ของเงินสมทบ: ผลตอบแทนที่เกิดจากการลงทุนของเงินสมทบ เช่น ดอกเบี้ยหรือเงินปันผล 

Image

ออมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเต็ม 15% เมื่อเกษียณเราจะมีเงินเท่าไหร่

สมมติว่า ปัจจุบันคุณอายุ 25 ปี เริ่มต้นเงินเดือน 20,000 บาท โดยออมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 15% และบริษัทสมทบให้อีก 5% หมายความว่า ใน 1 ปี เราจะมีเงินออมประมาณ 48,000 บาทในกองทุนนี้
ซึ่งหากเราออมอย่างต่อเนื่องจนถึงวันเกษียณ จะมีเงินต้นจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรวมทั้งหมด 3,396,518 บาท สมมติว่าได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบเต็ม 100%

นอกจากนี้ หากทำงานนานๆ ก็มีโอกาสที่นายจ้างอาจเพิ่มเงินสมทบมากขึ้น และหากผลตอบแทนเฉลี่ยจากการลงทุนอยู่ที่ 3%-5% ต่อปี เมื่อเกษียณ เราอาจมีเงินก้อนถึง 5,000,000 - 6,000,000 บาท เคล็ดลับสำคัญก็คือ ยิ่งออมเยอะและออมนานเท่าไหร่ เงินใช้หลังเกษียณก็จะมากขึ้นเท่านั้น

สำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริหารโดย บลจ. พรินซิเพิล คุณสามารถคำนวณและวางแผนการออมง่ายๆ ด้วยโปรแกรม Plan WISE Retire WELL บนแอป Principal TH (Source: Plan Wise Retire Well เครื่องมือวางแผนเกษียณอายุ by Principal Asset Management) 

Image

แนะนำ 2 แผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จากบลจ.พรินซิเพิล

เพื่อไม่พลาดโอกาสในการเกษียณสบายในอนาคตด้วยการเงินที่มั่นคง บลจ. พรินซิเพิล ขอแนะนำ 2 แผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ครอบคลุมทุกความต้องการของสมาชิกและบริษัท

1. แผนสมดุลตามอายุ (Target Date)
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสมาชิกในทุกช่วงเวลาการลงทุน โดยผู้จัดการกองทุนจะจัดพอร์ตให้สมาชิกโดยดูจากปีที่สมาชิกจะเกษียณอายุ มีการคัดเลือกสินทรัพย์ที่เหมาะสม กำหนดสัดส่วนการลงทุนในแต่ละประเภทของสินทรัพย์ ตลอดจนการทำ rebalancing ให้กับพอร์ตของสมาชิกด้วย เหมาะสำหรับมือใหม่และผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญในการลงทุน

2. แผนลงทุนตามความเสี่ยง (Target Risk)
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง โดยเป็นการลงทุนตามเมนูมาตรฐานที่บริษัทมีให้ หรือกำหนดสัดส่วนการลงทุนด้วยตนเองตามความเชี่ยวชาญส่วนบุคคล สำหรับเมนูมาตรฐานอาจกำหนดไว้ 3-5 แผน ตั้งแต่แผนเสี่ยงต่ำ (Conservative) ไปถึงเสี่ยงสูงที่มีโอกาสรับผลตอบแทนสูง (Aggressive) และยังสามารถเลือกแผนแบบ Do-it-yourself (DIY) ที่ให้สมาชิกเลือกสินทรัพย์พร้อมสัดส่วนการลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงที่ต้องการอีกด้วย โดยมี 15 กองทุนย่อยให้เลือก ตามประเภทและความเสี่ยงของสินทรัพย์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้และมีเวลาติดตามความเคลื่อนไหวของการลงทุน 

Image

เลือกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บลจ.พรินซิเพิล เพื่อเริ่มวางแผนเกษียณสบายได้ตั้งแต่วันนี้

บลจ. พรินซิเพิล มีความเชี่ยวชาญและสร้างความมั่นใจให้กับนายจ้างและสมาชิกในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพราะเป็นเจ้าแรกในไทยที่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประเภทสมดุลตามอายุ (Target Date Retirement Fund) โดยจัดตั้งในปี 2557 จนถึงปัจจุบัน มี Track Record ในการดำเนินงานกว่า 10 ปี

จุดเด่นของบลจ. พรินซิเพิล มีดังนี้
1. เชี่ยวชาญในด้านการบริหารจัดการกองทุน และได้รับรางวัล Outstanding Asset Management Company Awards จากงาน SET Awards 2024 และ ‘กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ’ โชว์ผลงานโดดเด่น ตอกย้ำความสำเร็จ คว้ารางวัลประเภท Pooled Fund ต่อเนื่อง 7 ปี ตั้งแต่ปี 2560
2. บริการครบวงจร เข้าถึงง่ายและสะดวก ผ่านแอปพลิเคชัน Principal TH สำหรับติดตามข้อมูลการลงทุน
3. ปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมตามภาวะตลาด และช่วยให้สมาชิกบรรลุเป้าหมายการเกษียณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ใส่ใจในการให้บริการและสนับสนุนด้านการลงทุนที่ครบถ้วน มีการปรับพอร์ตสม่ำเสมอเพื่อรักษาความสมดุลของการลงทุน

สำหรับพนักงานหรือบริษัทที่ยังไม่มี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แล้วสนใจจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถติดต่อได้ที่ โทร 02-686-9500 กด 2
หรือกรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับได้ที่ https://www.principal.th/th/contact-us

ดูข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มเติมได้ที่ https://www.principal.th/th/provident-fund

ติดต่อได้ที่เว็บไซต์ https://www.principal.th/ หรือโทร 02-686-9500

#PrincipalThailand #PrincipalTargetdatefund

🔵 ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมจาก บลจ.พรินซิเพิล ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/principalthailand
YouTube : https://www.youtube.com/c/PrincipalThailand
LINE: @PrincipalThailand หรือคลิก https://lin.ee/VtrvatK
Website : ​​https://www.principal.th หรือโทร 02-686-9500

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / PRINCIPAL GOPP กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในอเมริกาเหนือ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย/ PRINCIPAL GEF, PRINCIPAL GESG, PRINCIPAL GQE กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย /PRINCIPAL GIF กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในยุโรป อเมริกาเหนือและประเทศอังกฤษ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย /PRINCIPAL VNEQ ลงทุนกระจุกตัวในประเทศเวียดนาม ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย /PRINCIPAL INDIAEQ กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศอินเดีย ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย /PRINCIPAL iPROP กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ดังนั้นหากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าวผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต