ตอบคำถามที่คุณอยากรู้เกี่ยวกับความผันผวนของตลาดในช่วงวิกฤต COVID-19

หากคุณคือคนหนึ่งที่ลงทุน และยังเชื่อมั่นว่าจะขยายการลงทุนต่อไปเรื่อยๆ ก็คงรู้อยู่แล้วว่าธรรมชาติของการลงทุน มูลค่าในตลาดมักจะขึ้นๆ ลงๆ อยู่ตลอด แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ตลาดมีการแกว่งขึ้นลงอย่างแรง แน่นอนว่าคุณคงทำใจให้สบายได้ยาก ซึ่งเราเข้าใจในจุดนั้น เหมือนมันมีเพียงเส้นบางๆ ระหว่างเรื่องเงินๆ ทองๆ กับอารมณ์ความรู้สึก

เรารู้ว่าหลายคนมีคำถามมากมายในขณะนี้ แม้ว่าสถานการณ์ของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป แต่เราต้องการที่จะช่วยคลายข้อข้องใจให้ได้มากที่สุด โดยจะขอตอบคำถามโดยเลือกหัวข้อที่พวกเราถูกถามอยู่บ่อยๆ

คำถามเกี่ยวกับตลาดทุน

ควรดึงเงินออกจากตลาดตอนนี้ดีไหม? ควรหยุดออมเพื่อการเกษียณไปก่อนแล้วรอดูสถานการณ์ก่อนกลับมาลงทุนอีกครั้งหรือไม่?
ในช่วงเวลาที่มีความผันผวน ไม่แปลกที่คุณจะรู้สึกว่าควรเปลี่ยนวิธีการลงทุนหรือเปล่า เพื่อหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่ถ้าพิจารณาในระยะยาวแล้ว แนะนำให้คงเงินลงทุนเอาไว้แทนที่จะดึงเงินออกมาแล้วค่อยรอจังหวะกลับเข้าตลาดสู่ใหม่

คิดว่าตลาดจะดิ่งลงไปอีกนานแค่ไหน?
เรื่องนี้คงไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ แต่ในช่วงราว 150 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกเคยผ่านอะไรต่อมิอะไรมามากมาย อย่างสงคราม การระบาดใหญ่ และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งในแต่ละครั้ง ตลาดก็อยู่ในช่วงขาลงที่ดิ่งลงจนถึงจุดต่ำสุดเลยทีเดียว แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือตลาดก็สามารถฟื้นตัวกลับขึ้นมาใหม่ได้ทุกครั้ง คุณไม่มีทางรู้หรอกว่าจุดต่ำสุดนั้นอยู่ตรงไหนจนกว่าจะถึงวันที่ลงไปแตะที่จุดนั้นแล้วฟื้นตัวกลับมานั่นแหละ แต่คุณสามารถมองย้อนกลับไปดูเทรนด์และแนวโน้มของตลาดได

อีกนานแค่ไหนกว่าตลาดจะฟื้นตัว?
แม้แต่ตอนที่ตลาดอยู่ในช่วงขาลงที่เลวร้ายที่สุด ก็ยังสามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างสวยงาม รู้หรือไม่ว่าหนึ่งปีหลังจากที่ตลาดดิ่งลงมากในปี 2551/2552 กลับฟื้นตัวและดีดตัวสูงขึ้นถึง 53.5%1

มีโอกาสที่จะสูญเสียเงินออมส่วนใหญ่เพื่อการเกษียณหรือไม่?
ไม่น่าเป็นเช่นนั้น แต่ในฐานะนักลงทุน คุณควรใช้ช่วงเวลาเช่นนี้ในการทบทวนประเภทการลงทุนที่คุณถืออยู่ การจัดสรรสินทรัพย์ (การถือครองสินทรัพย์ที่แตกต่างกันซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะไม่ย้ายควบคู่กัน) สามารถช่วยลดความเสี่ยงของตลาดช่วงขาลงได้ เนื่องจากเราอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นมานานกว่า 10 ปี อาจถึงเวลาที่คุณต้องจัดสรรพอร์ตการลงทุนของคุณใหม่แล้วก็ได้

จะรู้ได้อย่างไรว่าการลงทุนที่มีอยู่เป็นไปตามที่ควรจะเป็นแล้ว?
ขั้นแรก คุณต้องแน่ใจก่อนว่าพอร์ตการลงทุนของคุณมีความหลากหลาย และยังคงเป็นไปตามเป้าหมายระยะยาวของคุณ การออมเพื่อการเกษียณโดยทั่วไป คือการที่คุณยอมแลกเปลี่ยนกำไรระยะสั้นเพื่อผลประโยชน์ในระยะยาว ดังนั้น การมีเป้าหมายที่ชัดเจนและยึดมั่นในการลงทุนนั้นอาจช่วยให้คุณรักษาแผนการในระยะยาวไว้ได้ แม้ว่าระหว่างทางจะมีขึ้นมีลงบ้างก็ตาม

หากการกระจายพอร์ตการลงทุนของคุณยังคงสอดคล้องกับเป้าหมายที่คุณตั้งไว้ และคุณยังมีระยะเวลาในการลงทุนนานกว่า 5 ปี คุณอาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพอร์ตของคุณเลย และยังสามารถเอาตัวรอดจากความผันผวนของตลาดได้ แต่ในทางตรงกันข้าม หากทุกอย่างไม่เป็นไปตามแผน ลองปรับพอร์ตของคุณใหม่โดยยึดตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และระยะเวลาจนกว่าคุณจะต้องการเงิน วิธีนี้จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในระยะยาวได้

คำถามเกี่ยวกับการลงทุน

หากตลาดยังคงอยู่ในช่วงขาลงต่อไป จะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ถึงควรจะเปลี่ยนเงินลงทุนเป็นเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด หรือควรลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น หรือควรจะย้ายไปลงทุนในตัวเลือกที่ "ปลอดภัย" กว่า?

สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณนั้น ขึ้นอยู่กับ 3 สิ่ง คือ เป้าหมายในการลงทุน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และระยะเวลาจนกว่าคุณจะต้องการถอนเงินออกไป หากคุณด่วนตัดสินใจถอนการลงทุนออกจากตลาดในช่วงตลาดขาลง ในแง่การเงินแล้ว ถือเป็นจังหวะที่เลวร้ายที่สุดที่จะขายก็ว่าได้ จากนั้นคุณอาจต้องการจำกัดการเปิดรับซื้อหุ้นของคุณ การสร้างพอร์ตการลงทุนแบบอนุรักษ์นิยม (ตราสารหนี้/ พันธบัตร) อาจทำให้คุณได้รับผลตอบแทนในระยะยาวมากกว่าการพยายามสร้างพอร์ตการลงทุนเชิงรุกที่ไม่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่คุณรับไหว
 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน?
ถือเป็นการดีที่จะรู้ว่าคุณมีการลงทุนที่เหมาะสมหรือไม่ โดยคำนึงถึงความพึงพอใจในระดับความเสี่ยงที่คุณสามารถยอมรับได้ กับระยะเวลาที่คุณมีจนกว่าจะต้องการสินทรัพย์ เมื่อคุณรู้ว่าความเสี่ยงระดับไหนที่คุณสามารถยอมรับได้ คุณจะเข้าใจมากขึ้นถึงระดับของผลตอบแทนที่คุณจะได้รับตามไปด้วย

หากต้องการความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาทางการเงิน จะหาได้จากที่ไหน?
ที่ปรึกษาทางการเงินสามารถช่วยคุณวางแผนการลงทุน แก้ปัญหาในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนมาก หรืออัปเดตหรือสร้างแผนทางการเงินส่วนบุคคลก็ได้ เรายินดีแนะนำที่ปรึกษาทางการเงินให้คุณ ติดต่อ Principal ได้ที่ (662) 686 9595 หรือส่งข้อความถึงเรา คลิก

 

1ตัวอย่างกรณีผลตอบแทนที่สูงเป็นตัวเลขสองหลักนั้น ประสบความสำเร็จเนื่องจากเป็นช่วงที่สภาพตลาดเอื้ออำนวย แต่อาจไม่สามารถคงอยู่ตลอดไป อย่างไรก็ดี ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ที่มา: เว็บไซต์ Wilshire Compass สะท้อนให้เห็นถึงผลตอบแทนดัชนี S&P 500 ซึ่งเป็นดัชนีที่ไม่มีการจัดการและนักลงทุนไม่สามารถลงทุนในดัชนีโดยตรงได้


เนื้อหาที่นำเสนอในบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ และไม่ควรตีความว่าเป็นข้อเสนอ หรือการเชิญชวนให้ซื้อ สมัครสมาชิก หรือขายผลิตภัณฑ์การลงทุนของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัดทั้งสิ้น การลงทุนมีความเสี่ยง รวมถึงความเสี่ยงในการสูญเสียเงินต้น การจัดสรรสินทรัพย์และการกระจายการลงทุนมิได้เป็นสิ้งยืนยันผลกำไร หรือการรับประกันเพื่อป้องกันการสูญเสียใดๆ ทั้งสิ้น