แนะนำซื้อหุ้นจีนผ่านกองทุน PRINCIPAL CHEQ ธนาคารกลางจีนประกาศหลายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

Image

 

•    ทีม Investment Strategy แนะนำซื้อหุ้นจีนผ่านกองทุน PRINCIPAL CHEQ เพื่อหวังผลตอบแทนในระยะสั้น ตามกลยุทธ์ Tactical Call หลังธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศหลายมาตรการทางการเงิน เช่น การปรับลดอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง (RRR) เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือการลดเงินดาวน์ และต้นทุนการกู้ยืมสำหรับการซื้อบ้านมือสองสู่ระดับที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์เพื่อช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์

•    หลังจากหุ้นจีนทยอยปรับตัวลงตั้งแต่ช่วงกลางปีเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เคยประกาศมาก่อนหน้านี้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเรียกความมั่นใจของนักลงทุน ตลอดจนถึงกระตุ้นการบริโภคของประชาชนชาวจีน อย่างไรก็ตามวันนี้ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ออกมาตรการทางการเงินเพิ่มเติมเริ่มตั้งแต่ปรับลดอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง (RRR) 0.5% และระบุอาจจะปรับลดเพิ่มเติมอีก 0.25 - 0.50% ภายในปีนี้, วางแผนจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ที่ 0.3% และการประกาศการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปในตลาดหุ้นเป็นจำนวนเงินอย่างน้อย 5 แสนล้านหยวน เทียบเท่า 7.1 หมื่นล้านดอลลาร์ 

•    ในส่วนของมาตรการที่ช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น การปรับลดอัตราส่วนการดาวน์บ้านมือสองขั้นต่ำสู่ 15% จาก 25%, การปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับที่อยู่อาศัย (Mortgage Rates) ลง 0.5%, และธนาคารกลางจีน (PBOC) จะช่วยสนับสนุนจำนวนเงิน 100% ด้วยต้นทุนที่ถูก สำหรับรัฐบาลท้องถิ่นต่อการซื้อบ้านคงค้างสต็อก จากปัจจัยดังกล่าวเบื้องต้นเราจึงคาดว่าหุ้นจีนจะสามารถฟื้นตัวต่อได้ในระยะสั้น 

•    PRINCIPAL CHEQ: เน้นลงทุนหุ้นจีนคุณภาพ เติบโตดี ทั้งตลาด Onshore และ Offshore เช่น China A share, H shares, ADR (Unconstrained) พอร์ตการลงทุนปัจจุบันเป็นหุ้นที่ทางทางรัฐบาลจีนให้สนับสนุนเช่น Clean energy, EV battery และหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของการบริโภค

PBOC ปรับลดอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง (RRR)
 

Image

 

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / PRINCIPAL CHEQ กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศจีน ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย / บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน / กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าทุนเริ่มแรกได้ / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต