Principal Update: มาตรการรัฐจีนกับกลุ่มธุรกิจการศึกษา

Education

      การเข้าถึงการศึกษานำมาซึ่งคุณภาพชีวิตและโอกาสทางสังคมที่ดียิ่งขึ้น แนวคิดเช่นนี้คงไม่เกินจริงสำหรับในประเทศจีน จำนวนประชากรที่มหาศาลขณะที่โอกาสการเข้าถึงการศึกษายังมีความเหลื่อมล้ำนำมาซึ่งการนำเสนอบริการทางการศึกษาของภาคเอกชนที่แข่งขันกันสูงมากยิ่งขึ้นเนื่องจากการศึกษาของภาครัฐตอบสนองได้อย่างไม่เพียงพอ การเติบโตของการศึกษาภาคเอกชนของจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะตลาดกวดวิชาออนไลน์ที่มีแรงผลักดันจากโควิด-19 อีกทางหนึ่ง โดยมีการประเมินว่าขนาดตลาดกวดวิชาออนไลน์ภาคเอกชนจะโตเป็นกว่าสองเท่าตัวถึง 183 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2023 จากปี 2019 (ที่มา Macquarie Research, 2019) อย่างไรก็ตาม การแข่งขันดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและสร้างแรงกดดันและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร สวนทางกับนโยบายสนับสนุนการมีบุตรเพิ่มของภาครัฐ และเพื่อเป็นการปกป้องสวัสดิภาพประชาชนของตนจึงมีการพิจารณาให้ใช้มาตรการ ตัวอย่างเช่น การให้บริษัทเอกชนที่สอนเนื้อหาภาคบังคับอย่างเช่น เนื้อหาชั้นประถมถึงชั้นมัธยมปลายที่ต้องทำในรูปแบบไม่แสวงหากำไร การห้ามไม่ให้มีการเรียนกวดวิชาภาคบังคับในวันหยุด ห้ามให้มีการเรียนออนไลน์สำหรับนักเรียนอายุต่ำกว่า 6 ปี หรือห้ามมีการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรต่างชาติหรือการจ้างผู้สอนที่เป็นชาวต่างชาติ เป็นต้น

      เหตุการณ์ดังกล่าวนำมาซึ่งความกังวลของนักลงทุนที่อาจเกี่ยวเนื่องกับผลประกอบการของธุรกิจเหล่านี้ในอนาคต และความเป็นไปได้ในการถอดถอนหุ้นของธุรกิจเหล่านี้ออกจากตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติด้านการทำกำไร จนทำให้เกิดการเทขาย หุ้นกลุ่มสถาบันกวดวิชาต่าง ๆ ในประเทศจีน

      อย่างไรก็ตาม บลจ. พรินซิเพิล ได้ประเมินว่า เหตุการณ์ดังกล่าวยังมีหลายประเด็นที่ต้องจับตา ถึงรายละเอียดและการปฏิบัติจริง เนื่องจากสภาพสังคม วัฒนธรรม และความเชื่อของประชากรจีนที่ให้ความสำคัญอย่างมากต่อการศึกษา อาจไม่สามารถถูกลบไปได้ง่าย อาจส่งผลให้ประเทศจีนสูญเสียความสามารถในการแข่งขันเชิงวิชาการได้ นอกจากนี้นักวิเคราะห์บางกลุ่มกลับมองว่าการปฏิรูปในลักษณะนี้ บริษัทที่มีการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง หรือเป็นผู้นำตลาดอาจจะได้ประโยชน์ในระยะยาว

      ดังนั้น ด้วยสภาวะการดังกล่าว ประกอบกับการปรับตัวลดลงอย่างมากของราคาหุ้นกลุ่มสถาบันกวดวิชาจีนในช่วงหลายวันที่ผ่านมา จึงทำให้ Downside Risk ที่ราคาปัจจุบันลดลงอย่างมาก แนะนำนักลงทุนรอดูสถานการณ์เพิ่มเติมหลังจากนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวอาจไม่ได้ส่งผลหรืออาจส่งผลจำกัดต่อสินทรัพย์การลงทุนที่แตกต่างกันภายใต้ บลจ. พรินซิเพิล

      นอกจากนี้ ด้วยยุทธศาสตร์ชาติจีนที่มุ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำโลก ผ่านการขับเคลื่อนและปฏิรูปในการสร้างแหล่งเงินทุนขึ้น รวมทั้งการสร้างและผ่อนคลายกฎระเบียบในการสนับสนุนการเกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่อย่างสูงสุด ยังคงมีแนวโน้มนำมาซึ่งศักยภาพเติบโตก้าวกระโดดในระยะยาว

กองทุนสถานการณ์ถือครองหุ้นกวดวิชาจีนของกองทุนหลักที่เป็นสัดส่วนหลัก
 
มุมมองผู้จัดการกองทุนหลัก
ที่เป็นสัดส่วนหลัก
 
Principal China Equity Fund
(PRINCIPAL CHEQ)
กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศจีน ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
ไม่มีการถือครองผู้จัดการกองทุนเฝ้าประเมินถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่ออุตสาหกรรมดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยพอร์ต UBS China A Opportunity Fund ยังคงเน้นลงทุนในกลุ่มผู้ชนะของแต่ละอุตสาหกรรมในจีนแผ่นดินใหญ่
Principal Asia Pacific Dynamic Income Fund
(PRINCIPAL APDI)
กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในฮ่องกง ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
ไม่มีการถือครองพอร์ต Principal Asia Pacific Dynamic Income Fund ไม่ได้มีการลงทุนในกลุ่มการศึกษาจีนมานับตั้งแต่อดีต เนื่องจากไม่สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนที่แสวงหาสินทรัพย์ที่ทั้งเติบโตและสามารถสร้างเงินปันผลได้ รวมทั้งระดับความผันผวนที่ไม่สูงจนเกินไป

 

อ่าน Principal Update: มาตรการรัฐจีนกับกลุ่มธุรกิจการศึกษา ที่นี่