Fund Update: กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล เฮลธ์ อินโนเวชั่น (PRINCIPAL GHEALTH)
โดย คุณวิริยา โภไคศวรรย์– International Fund Manager
คุณธเนศ เลิศเพชรพันธ์ – Investment Strategist
23 August 2023
ภาพรวมอุตสาหกรรม Health Care
ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในเดือน ก.ค. 2566 โดยดัชนี MSCI ACWI ให้ผลตอบแทน 3.55% และดัชนี MSCI World Health Care ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.21% โดยในช่วงแรกเป็นการปรับตัวลงตามแนวโน้มความเข้มงวดของ FED ที่ลดโอกาสการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้และให้สัญญาณถึงการที่อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับสูงที่นานขึ้น และ FED เองได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 11 ตามความคาดการณ์ของตลาดขึ้นมาอยู่ที่ 5.25% - 5.50% แต่อย่างไรก็ดีหลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจ เช่น อัตราเงินเฟ้อ Core PCE เดือน มิ.ย. 2566 ลดลงมาอยู่ที่ 4.1% จากก่อนหน้านี้ที่ 4.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า แสดงถึงการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อ “Disinflation” เช่นเดียวกับของ ECB ที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.25% โดย Main Refinancing Operation Rate มาอยู่ที่ 4.25% จากก่อนหน้านี้ที่ 4.25% และคำให้การของประธาน ECB นาง Christian Lagarde ที่ส่งสัญญาณเปิดโอกาสชะลอการขึ้นดอกเบี้ย สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ Harmonised Index of Consumer Prices (HICP) ของ EU ในเดือน ก.ค. 2566 ก็ลดลงมาอยู่ที่ 5.3% จากก่อนหน้านี้ที่ 5.5 ส่งผลให้ในช่วงท้ายของเดือน ตลาดหุ้นโดยรวมปรับตัวขึ้น พร้อมกับการเริ่มประกาศงบไตรมาสที่ 2/23 ของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ ที่ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าความคาดการณ์ของตลาดและปรับแนวโน้มขึ้นตาม Net Interest Income ที่ดีขึ้น แต่ก็ยังเตือนถึงความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ
โดยการปรับขึ้นของ Healthcare ในเดือน ก.ค. 2566 นำโดยกลุ่ม Biotech (+4.40%), Life Science Tools & Services (+4.40%) และ Healthcare Technology (+4.15%) ในขณะที่กลุ่มธุรกิจเดียวที่ปรับตัวลงในเดือน ก.ค. 2566 ได้แก่ Pharmaceuticals (-0.10%) อย่างไรก็ดีการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม Health Care มีความน่าสนใจในช่วงที่เศรษฐกิจและนโยบายการเงินยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน เนื่องจากอุตสาหกรรม Health Care เป็นอุตสาหกรรมที่มีความผันผวนขึ้นกับวัฏจักรเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ และมีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาที่ต่ำ (Low Price Elasticity of Demand) เนื่องจากเป็นสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ในการดำรงค์ชีวิต โดยกองทุน AB International Health Care Portfolio เน้นลงทุนในหุ้นที่มีความสามารถในการทำกำไรที่แน่นอน และเป็นกลุ่มที่มีรายได้ที่ชัดเจน ในขณะที่กองทุน Schroder International Selection Fund Healthcare Innovation เน้นลงทุนในหุ้นที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับการเติบโตในระยะกลางถึงยาว
กลยุทธ์การลงทุน
สำหรับ PRINCIPAL GHEALTH ทีมจัดการลงทุนจะมีการวางกรอบน้ำหนักการลงทุนใน 2 กองทุนหลัก ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์การลงทุนหรือปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมในแต่ละช่วง (บริหารพอร์ตแบบ Active/Dynamic) โดยจะแบ่งเป็น 3 เหตุการณ์ (Scenario) คือ Risk-off, Neutral และ Risk-on
โดยทีมจัดการลงทุนมีการคงสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนใน AB International Health Care Portfolio และ Schroder International Selection Fund Healthcare Innovation อยู่ที่ 40:60 ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED ที่มีแนวโน้มชะลอลง และทิศทางมุมมองอัตราดอกเบี้ยของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่ให้โอกาสในการคงอัตราดอกเบี้ยของ FED ในปีนี้อยู่ที่ 5.25% - 5.50% โดยเฉพาะการประชุมในเดือน ก.ย. 2566 นี้ที่ให้โอกาสในการคงอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 89.0% (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ส.ค. 2566) แต่อย่างไรก็ดีนักลงทุนยังคงต้องจับตามองแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างใกล้ชิด เนื่องจากรายงานการประชุม FOMC รอบที่ผ่านมาสะท้อนถึงสมาชิก FED หลายคนยังคงกังวลถึงการฟื้นตัวของอัตราเงินเฟ้อ และพร้อมที่จะกลับมาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากมีความจำเป็น
ผลตอบแทนของกองทุน
ในช่วงเดือน ก.ค. 2566 ดัชนี MSCI ACWI Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.55% ในขณะที่ดัชนี MSCI World Healthcare Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.21% โดยเป็นการฟื้นตัวของตลาดหุ้นโลกโดยรวมที่มีการกระจายตัวมากขึ้น จากก่อนหน้านี้ที่นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ อย่าง Tesla, Nvidia, Advanced Micro Devices, Apple, Meta Platforms ส่งผลให้ผลดำเนินงานของหุ้นกลุ่มอื่นๆ รวมถึงกลุ่ม Healthcare จึงฟื้นตัวตามได้ช้ากว่า โดยหากคำนวณวัดผลตอบแทนตั้งแต่หลังจากที่มีการปรับกองทุนที่เลือกลงทุนใหม่ (วันที่ 13 พ.ค. 2565 จนถึงวันที่ 11 ส.ค. 2566) PRINCIPAL GHEALTH ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 3.95% (THB) สอดคล้องใกล้เคียงกับดัชนี MSCI World Health Care Index (USD) ปรับขึ้นอยู่ที่ 6.66% และดัชนี MSCI All Country World Index (USD) ปรับขึ้นอยู่ที่ 8.81% โดยช่วงดังกล่าวค่าเงิน USD/THB อ่อนค่า 0.87%
ในช่วงเดือน ก.ค. 2566 ดัชนี MSCI ACWI Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.55% ในขณะที่ดัชนี MSCI World Healthcare Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.21% โดยเป็นการฟื้นตัวของตลาดหุ้นโลกโดยรวมที่มีการกระจายตัวมากขึ้น จากก่อนหน้านี้ที่นำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ อย่าง Tesla, Nvidia, Advanced Micro Devices, Apple, Meta Platforms ส่งผลให้ผลดำเนินงานของหุ้นกลุ่มอื่นๆ รวมถึงกลุ่ม Healthcare จึงฟื้นตัวตามได้ช้ากว่า โดยหากคำนวณวัดผลตอบแทนตั้งแต่หลังจากที่มีการปรับกองทุนที่เลือกลงทุนใหม่ (วันที่ 13 พ.ค. 2565 จนถึงวันที่ 11 ส.ค. 2566) PRINCIPAL GHEALTH ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 3.95% (THB) สอดคล้องใกล้เคียงกับดัชนี MSCI World Health Care Index (USD) ปรับขึ้นอยู่ที่ 6.66% และดัชนี MSCI All Country World Index (USD) ปรับขึ้นอยู่ที่ 8.81% โดยช่วงดังกล่าวค่าเงิน USD/THB อ่อนค่า 0.87%
อย่างไรก็ดีหากพิจารณาถึงช่วงต้นเดือน ส.ค. 2566 จนถึงวันที่ 11 ส.ค. 2566 ตลาดเริ่มเปลี่ยนทิศทาง จากข่าวการที่ Moody’s เตรียม downgrade ธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ และข่าวการผิดนัดชำระของกลุ่มอสังหาฯ ในจีน ส่งผลให้ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว โดยดัชนี MSCI All Country World Index (USD) ปรับตัวลง -3.17% ในขณะที่ดัชนี MSCI World Health Care Index (USD) ปรับขึ้นอยู่ที่ +0.58% และกองทุน PRINCIPAL GHEALTH ทรงตัวอยู่ที่ประมาณ +0.20% (THB) แสดงให้เห็นถึงว่าอุตสาหกรรมการแพทย์เป็นกลุ่มหลัก/ ธีมการลงทุนที่นักลงทุนคงน้ำหนักในการลงทุนแม้ว่าจะเกิดความไม่แน่นอนหรือความผันผวนขึ้นในตลาด
ผลการดำเนินงานย้อนหลังจาก Fund Fact Sheet ณ 31 ก.ค. 2566
ผลตอบแทนของ Sub-Index ของหุ้นกลุ่ม Health Care
รายละเอียดกองทุน
กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล เฮลธ์ อินโนเวชั่น (PRINCIPAL GHEALTH) ปัจจุบันมีการลงทุนผ่าน 2 กองทุนหลัก คือ
AB International Health Care Portfolio และ Schroder International Selection Fund Healthcare Innovation โดยคาดจะช่วยสร้างโอกาสการลงทุนที่เติบโตไปกับอุตสาหกรรม Health Care ที่มีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ ได้แก่ การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และนวัตกรรมการแพทย์ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยกองทุน PRINCIPAL GHEALTH จะลงทุนทั้งในส่วนของ Healthcare แบบดั้งเดิม (Traditional Healthcare) และ Healthcare แบบสมัยใหม่ (Healthcare innovation) ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดการกองทุนสามารถปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรือปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยมหภาค (Macro Factors) เพื่อจำกัดความผันผวนของโอกาสรับผลตอบแทนในระยะสั้นและสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว (Traditional Healthcare จะมีแนวโน้มปรับตัวลงน้อยกว่าในสภาวะตลาดขาลง ส่วน Healthcare Innovation จะมีโอกาสปรับตัวขึ้นดีกว่าโดยเฉพาะในช่วงตลาดขาขึ้น) โดยกองทุนเน้นกระจายการลงทุนเชิงรุกระหว่าง Traditional Health และ Health Innovation มีการปรับพอร์ตการลงทุนแบบ Dynamic ตามสภาวะตลาดที่เหมาะสม
รายละเอียดของกองทุนหลัก มีดังนี้
- กองทุน AB International Health Care Portfolio เน้นลงทุนในกลุ่ม Traditional Healthcare โดยมีกระบวนการลงทุนแบบ Bottom-up และ High conviction ที่เน้นลงทุนบริษัทที่มีคุณภาพสูง เติบโตอย่างมั่งคงในระยะยาว เช่น ผลตอบแทนจากการลงทุนสูง (High returns on invested capital) ฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งนี้กองทุนได้รับรางวัล Overall Morningstar Rating 5 ดาว (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2565)
- กองทุน Schroder International Selection Fund Healthcare Innovation เน้นลงทุนใน Healthcare Innovation มีการกระจายการลงทุนเชิงรุกผ่าน 5 ธีมนวัตกรรมการแพทย์ ได้แก่ 1. Advanced therapies 2. Med tech 3. Healthcare services 4. Digital healthcare และ 5. Wellbeing โดยมีกระบวนการลงทุนแบบ Bottom-up approach และลงทุนหุ้นประมาณ 50-70 บริษัท
ข้อมูลกลุ่มอุตสาหกรรม ประเทศ และหุ้น 10 อันดับแรกที่กองทุน Principal Global Health Innovation Fund (PRINCIPAL GHEALTH)
อ่าน Fund Update: กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล เฮลธ์ อินโนเวชั่น (PRINCIPAL GHEALTH)
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม Healthcare ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก / กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย / กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจได้รับกำไร หรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืน ต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ /กองทุนอาจใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน/ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนในเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน/บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงประเภทและลักษณะพิเศษของกองทุน PRINCIPAL GHEALTH ในอนาคตเป็น Feeder Fund หรือกองทุนรวมที่มีการลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์และทรัพย์สิน ทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศได้ หรือกลับมาเป็นกองทุน Fund of Funds ได้โดยไม่ทำให้ระดับความเสี่ยงของการลงทุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ให้เป็นตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน/ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต