โอกาสการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้
มุมมองและคําแนะนําการลงทุน
จากภาวะตลาดตราสารหนี้ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา บลจ.พรินซิเพิล ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พบว่า มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานภาครัฐ ในการส่งเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ได้ผลดีในระดับ หนึ่ง ทําให้ตลาดตราสารหนี้มีการซื้อขายคล่องตัวขึ้น โดยยอดการซื้อสุทธิของบริษัทจัดการกองทุนใน 3 วันทําการแรก สัปดาห์นี้ (30 มี.ค.–1 เม.ย.2020) มีมากกว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ตลาดตราสารหนี้เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ
บลจ. พรินซิเพิล มองเห็นโอกาสการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน ดังนี้
- การลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐระยะสั้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตร ธปท. อายุคงเหลือ 3 เดือน – 1 ปีให้อัตราผลตอบแทนประมาณ 0.75 – 1.00% สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
- การลงทุนในตราสารหนี้เอกชนระยะสั้น อายุตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปีและเป็นตราสารคุณภาพดีอันดับเครดิต AAA-, AA+, AA, AA-, A+, A, A- ให้อัตราผลตอบแทน (Yield) ประมาณ 1.80 - 2.50% สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจํา
บลจ. พรินซิเพิล มองว่า ปัญหาการขาดสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง และมักจะคลี่คลายในระยะเวลาอันสั้น เมื่อใดที่ตลาดขาดสภาพคล่อง ก็จะทําให้เกิดโอกาสการลงทุนในตราสารคุณภาพดีที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น (แปลว่ามีราคาถูกลง) ทั้งนี้ด้วยมาตรการที่เข้มแข็งของภาครัฐ ประกอบกับการเข้าสู่ไตรมาสใหม่ สภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้น่าจะเพิ่มมากขึ้น จึงขอแนะนําให้พิจารณาลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ของ บลจ.พรินซิเพิล
กองทุนตราสารหนี้ของ บลจ. พรินซิเพิล
- พอร์ตการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ของ บลจ.พรินซิเพิล มีนโยบายลงทุนดังนี้
- ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงสูง โดยลงทุนในเงินฝากธนาคารและตราสารหนี้ภาครัฐ
- ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนในระดับ Investment Grade
- ไม่มีการลงทุนในตราสารที่ไม่มีอันดับเครดิต (Non-rated Bonds)
- ไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ
- การจัดการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
- กระจายการลงทุนในตราสารหนี้หลากหลายประเภท เพื่อกระจายความเสี่ยงการลงทุน
- เน้นการคัดเลือกตราสารหนี้คุณภาพ โดยคณะกรรมการลงทุน (Investment Committee) และทบทวนความเสี่ยงด้านเครดิตทุก 3 เดือน เพื่อติดตามสถานการณ์และความสามารถในการชําระหนี้อย่างใกล้ชิด
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทําความเข้าใจลักษณะสินค้า(กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดําเนินงาน ของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่าง ๆ หรือให้ขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ก่อนการตัดสินใจลงทุน/บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน(Hedging) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน / กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกําไร จากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนตํ่ากว่าทุนเริ่มแรกได้/ผู้ลงทุนควรศึกษาผลการดําเนินงานของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดของกองทุนใน https://www.principal.th/th/mutual-fundth ก่อนตัดสินใจลงทุน/ผลตอบแทนในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดําเนินงานในอนาคต