Principal Update: CIO's View October 2021
เศรษฐกิจจีนชะลอตัว หุ้นสหรัฐฯปรับฐาน
ผลการเลือกตั้งในเยอรมนี และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่
โดย คุณศุภกร ตุลยธัญ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน
คุณกฤษติยา ศิริวาลย์
4 ตุลาคม 2564
ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาหลายเหตุการณ์ได้สร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินทั่วโลกส่งผลให้ตลาดหุ้นในหลายประเทศมีการปรับฐานลงมา โดยมีเหตุการณ์หลักๆทั่วโลกที่เกิดขึ้น ได้แก่
- การผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ในจีนอย่าง Evergrande
- วิกฤตการขาดแคลนพลังงานในจีน
- แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ที่อาจเร็วกว่าคาด
- ร่างนโยบายการลงทุนของสหรัฐฯฉบับใหม่และการขยายเพดานหนี้สาธารณะในสหรัฐฯ
- ผลการเลือกตั้งในเยอรมนี และ
- การชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น
ปัญหาเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ของ Evergrande กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาในตลาดหุ้นเนื่องจาก Evergrande เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มียอดขายสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในจีน และเป็นบริษัทเอกชนที่มีมูลค่าหนี้สินสูงที่สุดในโลกกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในเดือนที่ผ่านมาบริษัทออกมายอมรับว่าไม่สามารถแบกรับหนี้สินมูลค่ามหาศาลของบริษัทได้เนื่องจากปัญหาสภาพคล่องและได้มีการผิดนัดชำระหนี้บางส่วนไป โดยในปัจจุบันนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงจับตามองอย่างใกล้ชิดว่าหน่วยงานภาครัฐของจีนจะดำเนินการอย่างไรกับเหตุการณ์นี้ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาโดยละเอียดแล้วจะพบว่า มูลค่าหนี้สินโดยรวมของกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในจีนนั้นคิดเป็นสัดส่วนเพียง 8% ของมูลค่าสินเชื่อรวมทั้งหมดของธนาคารในจีน และในจำนวนนั้นมีมูลค่าหนี้ของ Evergrande เพียงแค่ 0.2% ดังนั้นเราจึงมองว่าสถานการณ์ของ Evergrande จะไม่ลุกลามไปจนเกินกว่าที่ภาครัฐของจีนจะรับมือได้ อย่างไรก็ดีการออกมากำหนดให้กลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องปฏิบัติตามกฎ “3 เส้นยาแดง” หรือ “Three Red Lines” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมสัดส่วนการก่อหนี้สินในกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์อาจกลายเป็นปัจจัยที่กดดันการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน และส่งผลกระทบเชิงลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในอีก 2-3 ปีต่อจากนี้
ในขณะเดียวกันวิกฤตการขาดแคลนพลังงานในจีนจากปริมาณถ่านหินนำเข้าที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ และราคาถ่านหินพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับความพยายามของรัฐบาลที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 ได้ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักในภาคการผลิตโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมหนักที่มีความต้องการใช้พลังงานเป็นอย่างมากซึ่งคาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในช่วงนี้จนกว่าภาครัฐจะยื่นมือเข้ามาบริหารจัดการให้ดีขึ้น ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในภาพรวมถึงปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นจีนอยู่ในขณะนี้ทั้งวิกฤตการณ์ด้านพลังงาน และการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีสัดส่วนรวมกว่า 15% ของ GDP ประกอบกับแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อสู่ภาคอสังหาฯที่น้อยลงในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ถือว่าเป็นปัจจัยลบต่อมุมมองการเติบโตของจีนระยะยาว โดยอาจจะทำให้ประมาณการอัตราการเติบโตของ GDP จีนลดน้อยลงประมาณ 0.5% ถึง 1% ต่อปี ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่ตลาดหุ้นจีนจะปรับตัวลงเพิ่มเติมต่อจากนี้ และนอกเหนือจากนั้นก็ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้มุมมองการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียลดลงเนื่องจากหลายประเทศในเอเชียนั้นถือว่ามีเศรษฐกิจจีนเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
อย่างไรก็ตามเรายังคงแนะนำให้คงการลงทุนในตลาดหุ้นจีนต่อไปเนื่องจากตลาดหุ้นได้มีการปรับฐานมาค่อนข้างมากแล้วในช่วงที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของตลาดหุ้น A-Share ที่ปรับตัวลดลงกว่า 20% และตลาดหุ้น H-Share ที่ปรับตัวลดลงมากว่า 30% ซึ่งการปรับตัวลงมาในระดับดังกล่าวถือว่ามากเพียงพอที่จะทำให้ภาครัฐของจีนตัดสินใจออกมาตรการบางอย่างเพื่อประคับประคองตลาดหุ้นในระยะอันใกล้ ทั้งนี้นักลงทุนอาจพิจารณาลงทุนในตลาดหุ้นจีนผ่าน กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า อิควิตี้ (PRINCIPAL CHEQ) และ กองทุนเปิดพรินซิเพิล เอเชีย แปซิฟิก ไดนามิก อินคัม อิควิตี้ (PRINCIPAL APDI)
ในอีกด้านหนึ่งของโลกการตลาดหุ้นสหรัฐฯ เองก็โดยนายไบเดนเผยว่า อาจมีการปรับลดงบประมาณในส่วนของสวัสดิการระยะยาวมูลค่า 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ ลงเพื่อให้ร่างงมีการปรับฐานในช่วงที่ผ่านมาโดย Dow Jones Index, S&P500 Index และ Russell 1000 Index ปรับตัวลดลงเฉลี่ย 5-6% ในเดือน ก.ย. 2021 โดยปัจจัยหลักที่กดดันให้เกิดการปรับฐานระยะสั้นนั้นมาจากการที่สมาชิกสภาคองเกรส (US Congress) ยังคงไม่อนุมัติร่างงบประมาณฉบับใหม่ของรัฐบาลซึ่งประกอบด้วยงบประมาณด้านสวัสดิการระยะยาวของประชาชน และการขยายเพดานหนี้สาธารณะ งบประมาณดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรส
ทั้งนี้นางเจเน็ต เยเล่น รัฐมนตรีคลังได้ออกมาเตือนว่าการขยายเพดานหนี้สาธารณะนั้นจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรสภายในวันที่ 18 ต.ค. 2021 นี้เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของรัฐบาล และการปิดหน่วยงานภาครัฐ (Government Shutdown) อย่างไรก็ตามเรามองว่าปัจจัยดังกล่าวได้ถูกรับรู้ไปในราคาของตลาดหุ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้เรามองว่าปัจจัยลบต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะไม่ทำให้แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดหุ้นสหรัฐเปลี่ยนแปลงไปเป็นแนวโน้มขาลง เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังอยู่ในแนวโน้มขยายตัว โดยในช่วงก่อนหน้านี้เราได้เคยประเมินไว้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงได้ในระดับประมาณ 5-6% ดังนั้นเราจึงมองว่าการที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงมาในระดับปัจจุบันนั้นเป็นจังหวะที่จะเข้าลงทุน โดยนักลงทุนที่สนใจสามารถลงทุนได้ผ่าน กองทุนเปิดพรินซิเพิล ยูเอส อิควิตี้ (PRINCIPAL USEQ)
ที่มา: https://www.bbc.com/thai/international-58703170
ด้านสถานการณ์ในยุโรปหลังผ่านพ้นการเลือกตั้งทั่วไปในเยอรมนี ยังคงมีความไม่แน่นอนว่าใครจะได้เป็นผู้นำรัฐบาลคนใหม่ต่อจากแองเกล่า แมร์เคิล ซึ่งจะยังคงทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีไปจนกว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะเสร็จสิ้น โดยพรรค Social Democratic Party (SDP) ชนะการเลือกตั้งทั่วไปอย่างฉิวเฉียดด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 25.7 ในขณะที่กลุ่ม The Union ซึ่งประกอบด้วยพรรค Christian Democratic Union (CDU) ของนางแมร์เคิล และพรรค Christian Social Union (CSU) ได้รับคะแนนเสียงรวมกันร้อยละ 24.1
อย่างไรก็ตามทั้ง 2 กลุ่มการเมืองยังคงมีโอกาสที่จะเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ขึ้นอยู่กับการเจรจากับพรรคเล็กที่เหลืออย่าง The Free Democrats (FDP) และ The Greens อย่างไรก็ตามแนวโน้มของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมองว่ามีความเป็นไปได้มากกว่าที่เยอรมนีจะมีรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นรัฐบาลพรรคร่วมซึ่งนำโดยพรรค Social Democratic Party (SDP) ซึ่งเป็นจะผลดีต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยุโรปต่อไปในอนาคต ทั้งนี้นักลงทุนที่สนใจการลงทุนในยุโรปสามารถลงทุนได้ผ่าน กองทุนเปิด พรินซิเพิล ยูโรเปี้ยน อิควิตี้ (PRINCIPAL EUEQ) และ กองทุนเปิดพรินซิเพิล เยอรมัน อิควิตี้ (PRINCIPAL GEQ)
ที่มา: https://mgronline.com/around/detail/9640000098378
ในทางกลับกันการเมืองของญี่ปุ่นกลับมีความแน่นอนกว่าของฝั่งยุโรป โดยนายมิโอะ คิชิดะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศได้รับชัยชนะจากการโหวตจากสมาชิกพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party: LDP) ให้เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ภายหลังนายกรัฐมนตรีซูกะตัดสินใจลาออกและสละสิทธิ์ในการชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเดือน ก.ย. 2021 ที่ผ่านมา โดยเป็นที่แน่นอนว่า นายคิชิดะจะกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของญี่ปุ่นซึ่งจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นในแง่ของความต่อเนื่องของนโยบายจากภาครัฐ
ทั้งนี้ภายหลังการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎรแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2021 เราคาดว่าจะมีการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่าประมาณ 30 ล้านล้านเยน หรือคิดเป็น 5.5% ของ GDP ญี่ปุ่นภายในเดือน ธ.ค. 2021 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นนอกจากนี้คาดว่าญี่ปุ่นจะมีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งบังคับใช้มาตั้งแต่เดือน เม.ย. 2021 ในระยะเวลาอันใกล้ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินได้ตามปกติอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้นักลงทุนที่สนใจสามารถลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นผ่าน กองทุนเปิดพรินซิเพิล เจแปนนิส อิควิตี้ (PRINCIPAL JEQ)
กองทุนแนะนำ
- กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า อิควิตี้ (PRINCIPAL CHEQ)
- กองทุนเปิดพรินซิเพิล เอเชีย แปซิฟิก ไดนามิก อินคัม อิควิตี้ (PRINCIPAL APDI)
- กองทุนเปิดพรินซิเพิล ยูเอส อิควิตี้ (PRINCIPAL USEQ)
- กองทุนเปิดพรินซิเพิล ยูโรเปี้ยน อิควิตี้ (PRINCIPAL EUEQ)
- กองทุนเปิดพรินซิเพิล เยอรมัน อิควิตี้ (PRINCIPAL GEQ)
- กองทุนเปิดพรินซิเพิล เจแปนนิส อิควิตี้ (PRINCIPAL JEQ)