Principal Update: CIO's View November 2021
Focus on Quality Exposure for 2022
โดย คุณศุภกร ตุลยธัญ, CFA - ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน
15 พฤศจิกายน 2564
Source: Bloomberg
ปี 2021 กำลังจะผ่านพ้นไป วันนี้เราจึงอยากเชิญท่านผู้อ่านมาพูดคุยถึงภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อหาโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับปีหน้า โดยมาเริ่มที่นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ครั้งล่าสุดก็ได้มีการประกาศเริ่มทำ QE Tapering ในเดือนพฤศจิกายน และจะสิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายนปีหน้า ทั้งนี้ปัจจุบันนักลงทุนในตลาดคาดการณ์ว่า Fed จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีหน้า ซึ่งเรามองว่าค่อนข้างที่จะสมเหตุสมผล เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯขึ้นมาแตะระดับสูงในรอบหลายปีและเรายังคาดว่าผลตอบแทนพันบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี จะสามารถปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 2% ได้อย่างไม่ยากในช่วงกลางปีหน้า
ดังนั้นสำหรับนักลงทุนที่มีการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ หรือต้องการหลีกเลี่ยงความผันผวนจากตลาดหุ้น เราแนะนำให้ลงทุนใน กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล ฟิกซ์ อินคัม (PRINCIPAL GFIXED) ซึ่งลงทุนใน PIMCO GIS Income เป็นกองทุนหลัก โดยเป็นกองทุนที่มีการบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเปลี่ยนได้ดี โดยปัจจุบันกองทุนมีอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้คงเหลือ (Duration) น้อยกว่า 2 ปี ซึ่งจะทำให้การปรับขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี (ขอเรียกสั้นๆว่า “บอนด์ยีลด์”) ในอนาคตจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของกองทุนมากเท่ากับกองทุนตราสารหนี้ทั่วไปที่มักจะมี Duration ระยะยาว ในขณะเดียวกันกองทุนก็ได้มีการกระจายการลงทุนไปในตราสารหนี้เอกชนคุณภาพในหลายๆอุตสาหกรรมโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้น
ในทางกลับกันสำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความผันผวนของตลาดหุ้นจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยและบอนด์ยีลด์ในอนาคตได้ เราแนะนำให้ลงทุนใน กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล อิควิตี้ (PRINCIPAL GEF) ที่เน้นการลงทุนผ่านการกระจายการลงทุนในหน่วยETF ที่หลากหลาย และกองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล แบรนด์ (PRINCIPAL GBRAND) ที่มีกองทุนหลักเป็นMorgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund โดยทั้งสองกองทุนมีกลยุทธ์มุ่งเน้นการลงทุนในบริษัทชั้นนำทั่วโลก ที่มีผลประกอบการและกระแสเงินสดที่ดีอย่างสม่ำเสมอ (Quality-focused stocks) และมีดัชนีอ้างอิงที่มีน้ำหนักการลงทุนหลักอยู่ในตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) เช่น สหรัฐฯ, ยุโรป และญี่ปุ่น เหมือนกัน ซึ่งเราคาดว่าจะสามารถมีอาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่ากลุ่มตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินเชิงเข้มงวดของสหรัฐฯที่แตกต่างจากนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายของทางฝั่งยุโรปและญี่ปุ่น จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯโดยรวมมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในสหรัฐฯ ก็จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อกลุ่ม Emerging Market เช่นกัน ซึ่งสองปัจจัยดังกล่าวจะทำให้ค่าเงินของกลุ่ม Emerging Market ต้องเผชิญกับแรงกดดันในการอ่อนค่า ทำให้ไม่เป็นผลดีต่อตลาดหุ้นมากนัก ดังนั้นเราจึงแนะนำเน้นการลงทุนในกลุ่มประเทศ Developed Market จนกว่าสถานการณ์เงินเฟ้อจะมีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้น
CIO’s View ฉบับเดือนพฤศจิกายนนี้ เรามีบทความ Special Topic โดยจะเป็นการเล่าถึงภาพรวมเศรษฐกิจของ Developed Market โดยคุณวรุณ ทรัพย์ทวีกุล ผู้จัดการกองทุนของ บลจ.พรินซิเพิล ประเทศไทย ที่บริหาร กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล อิควิตี้ (PRINCIPAL GEF)
Special Topic: กองทุน Principal Global Equity Fund (PRINCIPAL GEF) ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2021
โดย คุณวรุณ ทรัพย์ทวีกุล - ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายการลงทุนต่างประเทศ
ตลาดหุ้นสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมายังคงปรับตัวทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่องทั้งดัชนี S&P500, Russell 1000, Dow Jones และ Nasdaq โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากพื้นฐานเศรษฐกิจที่ยังปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากช่วงวิกฤตการระบาดของไวรัส COVID-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งในด้านของตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขGDP, การจ้างงาน, ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค และ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสสามที่ประกาศออกมามีการเติบโต และผลกำไรที่ดี โดยผลประกอบการของดัชนี Russell 1000 โดยรวมมีกำไรมากกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ (Earnings Surprise) ที่ 9.01% และมีอัตราผลกำไรเติบโต (Earnings Growth) ที่ 42.21%ทางด้านการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ครั้งล่าสุดก็ได้มีการประกาศเริ่มทำQE Tapering ในเดือนพฤศจิกายน และจะสิ้นสุดลงในช่วงกลางปีหน้า โดยมีวงเงินจำนวน 15 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือนตามที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ยังคงมีมุมมองที่ผ่อนคลายต่อตัวเลขเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นในปัจจุบัน ว่าเป็นการปรับตัวขึ้นแค่ชั่วคราวจากความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งคาดการณ์ว่าตัวเลขเงินเฟ้อจะสามารถปรับตัวลงได้ในช่วงกลางปีหน้า และยังคงไม่รีบร้อนที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า
อย่างไรก็ตามเราคงมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯในระยะข้างหน้า จากพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และการประมาณผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในอนาคตที่ถูกปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงด้านสภาวะเงินเฟ้อและการปรับขึ้นดอกเบี้ยเข้ามากระทบบรรยากาศการลงทุนเป็นระยะๆอยู่บ้าง โดยแนะนำจังหวะเข้าสะสมซื้อในช่วงที่ตลาดมีการปรับฐาน STOXX Europe 600 ในช่วงที่ผ่านมาก็ได้ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่เช่นกัน โดยผลประกอบในไตรมาสามที่ประกาศออกมาล่าสุดมี Earnings Surprise ลงมา 5-6%
ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรปดัชนี STOXX Europe 600 ในช่วงที่ผ่านมาก็ได้ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่เช่นกัน โดยผลประกอบในไตรมาสามที่ประกาศออกมาล่าสุดมี Earnings Surprise และ Earnings Growth อยู่ที่ 9.63% และ 46.32% ตามลำดับ โดยการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ครั้งล่าสุดในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาก็ยังคงไม่มีการแถลงหรือส่งสัญญาณในการทำ QE Taperingถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนจะปรับขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีแล้วก็ตาม ทั้งนี้นักวิเคราะห์บางส่วนคาดการณ์ได้คาดการณ์ว่า ECB จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผล่อนคลายไปจนถึงช่วงต้นปีหน้า และจะประกาศการทำ QE Tapering ในช่วงกลางปี ทางด้านการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ในประเทศเยอรมันนียังคงอยู่ในระหว่างการเจรจา ซึ่งทางเราคาดการณ์ว่านายโอลาฟ โชลซ์ ผู้นำพรรค Social Democratic Party (SDP) จะสามารถเจรจาข้อตกลงการจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคร่วมได้แล้วเสร็จภายในเดือนนี้ ก่อนที่จะมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 6 ธันวาคม 2564
โดยสรุปแล้วเรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นยุโรปในช่วงระยะข้างหน้า จากพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ผลประกอบการบริษัทที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และการสนับสนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอยู่
ข้ามมาทางฝั่งเอเชีย ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบกว้างโดยที่ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน (Sideway) ผลประกอบการไตรมาสสามของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี TOPIX ที่ประกาศออกมาล่าสุดมี Earnings Surprise และ Earnings Growth อยู่ที่ 20.74% และ 51.95% ตามลำดับ ทางด้านผลการเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) และพรรคร่วมรัฐบาลก็ได้ชนะเสียงข้างมากตามที่ได้คาดไว้ ซึ่งทำให้นายฟูมิโอะ คิชิดะ ได้อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตีต่อไป
โดยทาง บลจ.พรินซิเพิล คาดการณ์ว่า 2 ปัญหาหลักที่นายฟูมิโอะจะต้องหาทางแก้ไข
- การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยคาดว่ามาตรการจะถูกประกาศออกมาในช่วง 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า และจะผ่านการรับรองจากสภาภายในสิ้นปีนี้
- นโยบายเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน (Carbon Neutral) ซึ่งนายซูกะ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แถลงไว้ว่าจะดำเนินนโยบาย Carbon Neutral ให้สำเร็จภายในปี 2050 โดยล่าสุดรัฐบาลญี่ปุ่นออกงบประมาณในการค้นคว้าและวิจัยพลังงานทดแทนอยู่ที่ 17 พันล้านเหรียญดอลลาห์สหรัฐฯ น้อยกว่ากลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างประเทศสหรัฐฯที่ 555 พันล้านเหรียญดอลลาห์สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่ 1 ล้านล้านยูโร ในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นยังต้องพึ่งพาพลังงานจาก ก๊าซธรรมชาติ, ถ่านหิน และน้ำมัน ในสัดส่วนที่มากกว่า 70%
ทางด้านการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเรามีมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่ม Consumer Discretionary และ Financials จากปัจจัยสนับสนุนดังต่อไปนี้
- ความต้องการสินค้า และบริการ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงหลังจากผ่านช่วงวิกฤตการแพร่ระบาด COVID-19 รวมไปถึงอัตราเงินออมของประชาชนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว จะเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่ม Consumer Discretionary
- เนื่องจากปัจจุบันเราอยู่ในช่วงที่ FED เริ่มดำเนินนโยบายการเงินกลับเข้าสู่ภาวะปกติ (Policy Normalization) จึงทำให้คาดได้ว่าในอนาคตจะมีการขึ้นดอกเบี้ยเกิดขึ้น โดยปัจจุบันนักลงทุนในตลาดให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยของ FED อยู่ที่ 2 ครั้งในปี 2022 ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นสูงได้ถึง 2.00-2.25% ในช่วงกลางปีหน้า ซึ่งจะเป็นสนับสนุนต่อกลุ่ม Financials นอกจากนี้การลงทุนในกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ Electronic Vehicle (EV) ไม่ว่าจะทั้งต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำของห่วงโซ่อุปทานก็มีความน่าสนใจเช่นกัน เนื่องจากเป็นการลงทุนที่จับกระแสหลักของโลกที่กำลังเปลี่ยนไปในระยะยาว ซึ่งปัจจุบันประเทศกลุ่มผู้นำของโลกเช่น สหรัฐฯ, สหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น และจีน ก็มีนโยบายที่มุ่งเน้นไปในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Net Zero Emission) เหมือนกัน
กองทุนเปิด พรินซิเพิล โกลบอล อิควิตี้ (PRINCIPAL GEF)
กองทุนที่มีนโยบายในการลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศที่มีกลยุทธ์ในการมุ่งเน้นการลงทุนผ่านหน่วยลงทุน ETF ในต่างประเทศ โดยมีน้ำหนักการลงทุนหลักในหุ้นสหรัฐฯ หุ้นยุโรป และหุ้นญี่ปุ่น ซึ่งมีน้ำหนักรวมกันได้ประมาณ 90% ของกองทุน ในด้านของระดับมูลค่าพื้นฐานนั้น กองทุนมี Forward Price to Earnings ratio (P/E) อยู่ที่ 19.7 เท่า ซึ่งหากพิจารณาโดยเบื้องต้นนั้นถือว่าอยู่ในระดับที่สูง แต่เป็นเหตุผลจากฐานของกำไรที่อยู่ในระดับต่ำเนื่องจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ lockdown ส่งผลให้อัตราการเติบโตของกำไรในปี 2020 นั้นสูงเกินปกติ หากพิจารณาอัตราการเติบโตของกำไรในช่วงปี 2021-2023 เพื่อเป็นการปรับเอาผลกระทบในเรื่องของฐานคำนวณ (base effect) ออกไปนั้น จะเห็นได้ว่าอยู่ในระดับที่ประมาณ 22% ต่อปี จะทำให้มูลค่าพื้นฐานในเชิง P/E นั้นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างเหมาะสมกับอัตราการเติบโตของกำไรที่มีการปรับการคำนวณ (normalized growth)
สำหรับ กองทุนเปิด พรินซิเพิล โกลบอล อิควิตี้ (PRINCIPAL GEF) นั้นมีความเหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศที่เป็น Developed Markets เพื่อเป็นน้ำหนักการลงทุนหลักในตราสารทุนต่างประเทศ แต่ถึงอย่างไรก็ตามนักลงทุนควรพิจารณาการจัดสรรสินทรัพย์ (asset allocation plan) ให้เหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่เหมาะสมของแต่ละคนด้วยเช่นกัน