"PRINCIPAL iPROP" & "PRINCIPAL iPROPEN" กับโอกาสลงทุนใน "Asia Pacific REIT" ฝ่าวิกฤติ COVID-19 โดย สรวิศ อิ่มบำรุง, Wealthy Thai (Thai version only)

Principal iPROP & Principal iPROPEN กับการลงทุนหุ้น Asia Pacific REIT ฝ่าวิกฤต COVID-19

โอกาสลงทุนใน ‘สินทรัพย์คุณภาพดี’….ใน ‘ราคาที่ถูกลง’!!!

สถานการณ์แพร่ระบาดของ ‘ไวรัสโคโรน่า (COVID-19)’ ได้ฉุดเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปี 2020 เข้าสู่ภาวะถดถอยในที่สุด โดยเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะหดตัว 3.0% เศรษฐกิจไทยหดตัว 5.3% (ที่มา: IMF and BOT, Data as of 21 Apr 2020)

แต่บนสมมติฐานว่าการระบาดดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังและมาตรการ ‘Lockdown’ สามารถทยอยเลิกไปได้นั้น เราก็จะเห็นเศรษฐกิจโลกและไทยกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในปีหน้า 5.8% และ 3.0% ตามลำดับ (ที่มา: IMF and BOT, Data as of 21 Apr 2020)

จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ของรัฐบาลทั่วโลกเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ กด ‘ดอกเบี้ย’ ให้ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ กระทบรายได้ของผู้มีเงินออมทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย

สิ้นเดือน เม.ย.2020 พันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ของ ‘สหรัฐฯ’ และ ‘ไทย’ อยู่ที่ 0.64% และ 1.21% ตามลำดับ 
    
เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กลุ่ม ‘กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์/REIT/Infrastructure Fund’ ยังคงเป็นกลุ่มกองทุนที่มีความโดดเด่นและเป้าหมายของนักลงทุนทั่วโลกอย่างปฏิเสธไม่ได้

ในทุก ‘วิกฤติ’ ย่อมมี ‘โอกาส’ ซึ่งทาง “บลจ.พรินซิเพิล” ได้คัดเลือก ‘2 กองทุนเด่น’ ในกลุ่มนี้ของบริษัท ได้แก่ ‘กองทุนเปิดพรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม (PRINCIPAL iPROP) ’ และ ‘กองทุนเปิดพรินซิเพิล เอ็นแฮนซ์ พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซ์ อินคัม (PRINCIPAL iPROPEN)’ มาเป็นทางเลือกให้กับผู้ลงทุน

“วิกฤติ” แต่ละครั้ง...กระทบ ‘อสังหาริมทรัพย์’ แต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป

graph

ผลกระทบของ ‘ไวรัส COVID-19’ ในช่วงไตรมาสแรกปี 2020 กดดันราคาสินทรัพย์ทั่วโลกให้ปรับตัวลงก่อนที่จะรีบาวด์กลับขึ้นมาในช่วงเดือน เม.ย. 2020 แต่ในระยะสั้นความผันผวนยังคงอยู่ แม้ว่าภาพรวมของจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนล่าสุดยอดขึ้นไปแตะ 3.72 ล้านราย มียอดผู้เสียชีวิตกว่า 2.58 แสนราย แล้วก็ตาม (ที่มา: https://www.ft.com/coronavirus-latest , Data as of 21 Apr 2020)

แต่ในบางประเทศสถานการณ์เริ่มคลี่คลายไปในเชิงบวก เริ่มต้นด้วย ‘จีน’ ที่เป็นต้นกำเนิดของไวรัสในครั้งนี้ รวมถึง ‘ไทย’ เอง และในอีกหลายประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงและเริ่มการคลายล็อกประเทศ เพื่อให้กิจกรรม ทางเศรษฐกิจกลับมาเดินหน้าอีกครั้ง

ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคในครั้งนี้จะส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานและความสามารถในการจ่าย เงินปันผลของ ‘กอง REIT’ ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ในรูปแบบและปริมาณที่แตกต่างกันออกไป 
         
ดังจะเห็นได้จากข้อมูลเมื่อครั้ง ‘วิกฤติการเงินโลก’ ปี 2008 ในตอนนั้นกลุ่ม Office, Retail และ Industrial ได้รับผลกระทบน้อยเมื่อดูจาก ‘อัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy)’ จะเห็นได้ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละวิกฤติ ก็จะกระทบกับแต่ละกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่แตกต่างกันออกไป (ที่มา: Bloomberg Finance L.P., DBS Bank)

“ไม่เพียงเท่านี้การเลือกลงทุนในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบน้อย ราคาก็มีโอกาสจะปรับตัวหลังช่วง วิกฤติได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากนั่นเอง”

เน้นลงทุนใน 4 กลุ่ม...ที่ได้รับผลกระทบน้อย

สิ่งหนึ่งที่ทำให้กลุ่ม ‘กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์/REIT/Infrastructure Fund’ ยังคงมีความน่าสนใจ เป็นเรื่องอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่มีความสม่ำเสมอที่สูงกว่า ‘เงินฝาก’ และ ‘ตราสารหนี้’

ทั้ง ‘กองทุนเปิดพรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม (PRINCIPAL iPROP)’ และ ‘กองทุนเปิดพรินซิเพิล เอ็นแฮนซ์ พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซ์ อินคัม (PRINCIPAL iPROPEN)’ ถูกออกแบบ มาอย่างตั้งใจในการเป็นกองทุนที่สามารถสร้างกระแสเงินสดจากค่าเช่ากลับสู่ผู้ลงทุนในรูปของ ‘เงินปันผล’ อย่างสม่ำเสมอ โดยโอกาสรับอัตราเงินปันผลคาดหวังอยู่ที่ 4 – 5% ต่อปี สำหรับ ‘กองทุน PRINCIPAL iPROP’ และ 5 – 6% ต่อปี สำหรับ ‘กองทุน PRINCIPAL iPROPEN’ (โอกาสรับผลตอบแทนคาดหวังเฉลี่ยสำหรับระยะเวลาลงทุนตั้งแต่ 3 – 5 ปีขึ้นไป, ที่มา: Principal Asset Management, ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2020)

ใน ‘วิกฤติ COVID-19’ ครั้งนี้ก็เช่นกัน หลังจากที่ราคาสินทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวลงรวมทั้ง REIT ก็ส่งผลให้ โอกาสรับผลตอบแทนเงินปันผลคาดหวังจากกอง REIT บางกองในสิงคโปร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดิม 4–5% ต่อปีเมื่อปี 2019  เป็น 6–8% ต่อปีในช่วงที่ผ่านมา (ที่มา: Bloomberg, ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2020) ซึ่งยังคงสูงกว่าผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ของสหรัฐและไทยอย่างมาก และเป็นปัจจัยบวกที่หนุนให้มีเงินลงทุน ไหลเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ประเภท REIT ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง นี่ยังไม่นับรวมโอกาสได้ผลตอบแทนจากราคาที่จะปรับตัวขึ้นหลังวิกฤติอีกด้วย 

“หากเลือกลงทุนในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่แข็งแกร่ง มีพื้นฐานดี มีโอกาสได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค หรือ New Normal หรือได้รับผลกระทบน้อย ในทางตรงข้ามกลับได้รับผลกระทบในเชิงบวก ในจังหวะที่ราคาของ REIT ปรับตัวลงมา ก็ถือเป็นโอกาสเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์คุณภาพดี ในราคาที่ถูก ซึ่งมองในระยะยาวก็ถือว่าคุ้มค่า”

iprop

สำหรับอสังหาริมทรัพย์กลุ่มที่ได้รับผล ‘กระทบปานกลางถึงมาก’ จะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ Hotels, Retail, Airports ที่เน้นพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นสำคัญ ตลอดจน Exhibition Centers ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทาง บลจ.พรินซิเพิล หลีกเลี่ยงการลงทุน

ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับผล ‘กระทบน้อย’ ได้แก่ Logistics ,Data Centers ,Office และ Infrastructure ซึ่งไม่เพียงได้รับผลกระทบน้อยเท่านั้น และยังเป็นกลุ่มที่มีโอกาสของการฟื้นตัวได้เร็วหลังจากสถานการณ์ คลี่คลายอีกด้วย 

ไม่เพียงเท่านี้ในบางกลุ่มก็ยังสามารถเติบโตได้ในช่วง ‘วิกฤติ COVID-19’ เช่น คนซื้อของออนไลน์มากขึ้น การขนส่งสินค้าต่างๆ ก็เติบโตขึ้นเป็นเงาตามตัว หรือการ Work from Home ก็ทำให้ปริมาณการใช้อินเทอร์เนทโตขึ้นด้วยเช่นกัน เป็นต้น 

“ทั้ง 4 กลุ่มนี้ เป็นเป้าหมายการลงทุนของ ‘กองทุน PRINCIPAL iPROP’ และ ‘กองทุน PRINCIPAL iPROPEN’ ดังจะเห็นได้จากโครงสร้างพอร์ตของทั้ง 2 กองทุนได้เป็นอย่างดี และด้วยกลยุทธ์การบริหารที่ปรับลด สัดส่วนการถือครองสินทรัพย์กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ในขณะที่ปรับเพิ่มน้ำหนักใน REIT ที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง ทำให้ภาพรวมของผลการดำเนินงานของทั้ง 2 กองทุน สามารถ ‘เอาชนะตลาด’ มากกว่า 2.0% ในช่วงไตรมาสแรกปี 2020 ที่ผ่านมา”

ระยะสั้นยัง ‘ผันผวน’...แต่เป็นโอกาสลงทุนใน ‘ระยะยาว’

ทั้ง ‘กองทุน PRINCIPAL iPROP’ และ ‘กองทุน PRINCIPAL iPROPEN’ ถือเป็นกองทุนเรือธง (Flagship) ของ “บลจ.พรินซิเพิล” ซึ่งมี ‘จุดเด่น’ ที่เหมือนกัน คือ บริหารโดยทีมผู้เชี่ยวชาญของกลุ่ม Principal ที่ลอนดอน, สิงคโปร์ และไทย มีนโยบายลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพดี เพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคง จากค่าเช่า และเน้นให้มี ‘Drawdown’ ที่ต่ำ ในภาวะที่ตลาดผันผวน ซึ่งข้อนี้ได้สะท้อนผ่านผลการดำเนินงานของทั้ง 2 กองทุน ในช่วงไตรมาสแรกปี 2020ได้เป็นอย่างดี
 

iprop

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 กองทุน ก็มี ‘จุดต่าง’ ที่ถูกวางเอาไว้อย่างตั้งใจเช่นกัน โดย ‘กองทุน PRINCIPAL iPROP’ นั้นจะเน้นลงทุนใน ‘ไทย’ และ ‘สิงคโปร์’ เป็นหลัก เป็นกองทุนพิมพ์นิยมที่ได้รับการตอบรับจาก ผู้ลงทุนเป็นอย่างดีและมีผลงานที่ดีสม่ำเสมอจนได้รับการจัดอันดับ ‘5 ดาว’ จากทาง ‘Morningstar’ อีกด้วย (ที่มา: Morningstar Thailand, ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2020)

ในขณะที่ ‘กองทุน PRINCIPAL iPROPEN’ นั้น จะมีการกระจายการลงทุนไปใน Asia-Pacific และมีสินทรัพย์ที่เป็น ‘กรรมสิทธิ์ (Free Hold)’ มากกว่าด้วย และยังมีกรอบการลงทุนใน ‘Infrastructure Fund’ ที่เปิดกว้างกว่าด้วยเช่นกัน

แม้ทีมบริหารกองทุนของ “บลจ.พรินซิเพิล” จะมองว่า ราคาสินทรัพย์กลุ่ม REIT มีความน่าสนใจมากขึ้น หลังมีการปรับตัวลงมากในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นโอกาสลงทุนในสินทรัพย์คุณภาพดีในราคาที่ถูกลง และเหมาะสำหรับ ทยอยเข้าลงทุนโดยมองการลงทุนใน ‘ระยะยาว’ เป็นสำคัญ

“อย่างไรก็ตามในระยะสั้นเชื่อว่ายังมี ‘ความเสี่ยง’ ทั้งด้านบวกและด้านลบอยู่ไม่น้อย จึงได้เน้นการบริหาร สินทรัพย์ในลักษณะ Conservative เน้นลงทุนใน สินทรัพย์คุณภาพสูง และมีอัตราส่วนหนี้สินค่อนข้างต่ำ และมีการบริหารสภาพคล่องให้อยู่ในระดับสูง เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าลงทุนในสินทรัพย์คุณภาพดีเพิ่มเติม ในจังหวะที่เหมาะสม”

อย่าปล่อยให้ ‘วิกฤติ COVID-19’ ทำให้คุณต้องหยุดลงทุนไป สำหรับใครที่กำลังมองหาการลงทุน ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอในระยะยาวแล้ว ทั้ง ‘กองทุน PRINCIPAL iPROP’ และ ‘กองทุน PRINCIPAL iPROPEN’ ประตูสู่โลกการลงทุนใน ‘Asia Pacific REIT’ น่าจะเป็นทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี ในการลงทุนในหลักทรัพย์หรืออุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์และเติบโตจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคจากสถานการณ์ปัจจุบัน

สำหรับนักลงทุนที่สนใจ ติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนหรือสอบถามรายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  หรือผู้สนับสนุนการขายฯ หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด โทร. 02 686 9595  www.principal.th ท่านสามารถเปิดบัญชีและทำรายการผ่าน Principal TH Mobile App ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.principal.th/th/principalTH.html

คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง  และผลการดำเนินงาน ของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่าง ๆ หรือให้ขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ ก่อนการตัดสินใจลงทุน/ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต / บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน / กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าทุนเริ่มแรกได้ / PRINCIPAL iPROP ลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ดังนั้นหากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าวผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก / PRINCIPAL iPROPEN กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในประเทศแถบเอเชีย ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย