4 สิ่งที่ธุรกิจควรคำนึงถึงท่ามกลางวิกฤตไวรัสโคโรนา และสภาวะตลาดผันผวน
หลายธุรกิจต่างตั้งตารอความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในปี 2563 แต่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา การแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ในกว่า 80 ประเทศทั่วโลก ทำให้อนาคตข้างหน้าดูไม่ค่อยจะสู้ดีนัก อย่างไรก็ตาม ผู้นำธุรกิจสามารถนำทักษะในการจัดการและวางแผนรับมือที่ทำมาอยู่แล้ว มาประยุกต์ใช้กับช่วงวิกฤตโรคระบาดนี้ได้
ดร.บ็อบ เบาเออร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์โลกจากบริษัท Principal® ได้กล่าวเกี่ยวกับการแพร่กระจายของไว้รัสในครั้งนี้ไว้ว่า “มันเป็นแค่เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ทิศทางของธุรกิจที่จะต้องไปเปลี่ยนตามสถานการณ์ ดังนั้นไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม จงอย่าตื่นตระหนกจนด่วนตัดสินใจทำในสิ่งที่อาจทำให้คุณเสียใจภายหลัง
มาลองดูแนวคิดและวิธีการรับมือที่พอจะทำได้เพื่อช่วยให้คุณคลายกังวลเกี่ยวกับสภาวะตลาด ณ ปัจจุบัน
1. สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
เป็นเรื่องปกติที่เจ้าของธุรกิจมักนึกถึงและรู้สึกรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของพนักงาน พยายามเปิดช่องทางการสื่อสารให้มากๆ ให้พนักงานรู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยปัญหาต่างๆ กับบริษัท และส่งเสริมให้พนักงานเข้าหาหรือสอบถามหัวหน้างาน หากมีคำถามเกี่ยวกับการเดินทางมาทำงานหรือความยากลำบากต่างๆ จากโรคระบาด
นายแดน เฮ้าส์ตัน (Dan Houston) ประธาน กรรมการผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุดของกลุ่มบริษัท Principle ได้กล่าวข้อความถึงพนักงานของบริษัทด้วยน้ำเสียงที่เอาใจใส่ โดยกล่าวไว้ว่า “ข้าพเจ้าเข้าใจว่าโรคร้ายที่เราไม่รู้จักนี้อาจะดูน่ากลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมันเกี่ยวเนื่องถึงสุขภาพความเป็นอยู่ของคุณและครอบครัว” นายเฮ้าส์ตันยังเน้นย้ำถึงสิ่งสำคัญ 3 ประการที่ถือเป็นหลักปฏิบัติสำหรับธุรกิจ แม้จะเพื่อพนักงานเพียงคนเดียวก็ตาม
- แสดงให้เป็นว่าคุณให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของพนักงานเป็นหลัก
- หมั่นยืนยันถึงความมั่นคงในระยะยาวของบริษัท
- อธิบายถึงพันธกิจของบริษัทและเน้นย้ำกับพนักงานว่า แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤต แต่การบริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และใส่ใจลูกค้าให้มากยิ่งขึ้นถือเป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทยังต้องดูแลต่อไป
2. รักษาการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามปกติ หรือที่เรียกว่า ความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ไม่ใช่ทุกบริษัทจะเตรียมการเรื่องแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจเอาไว้ หรือถึงเตรียมไว้แล้วก็อาจไม่รองรับเรื่องโรคระบาดทั่วโลกอย่างวิกฤตไวรัสโคโรนา แต่ปัจจัยพื้นฐานที่ต้องเตรียมนั้นเหมือนกันสำหรับทุกบริษัท คือ ระบบงานสำคัญที่คุณต้องทำเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ามีอะไรบ้าง ลองดูตัวอย่างบางส่วนจากทีมบริหารความเสี่ยงและทีมรักษาความปลอดภัยของ Principle
- ทดสอบก่อนที่จะเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้แน่ใจว่า คุณมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการให้พนักงานทุกคนทำงานจากที่บ้านพร้อมกันได้อย่างสะดวก ลองหาวันเพื่อทดลองระบบดูแล้วค่อยปรับการใช้งานให้เหมาะสมตามสมควร
- หาว่าใครคือบุคลากรสำคัญ และอะไรคือระบบงานที่คุณต้องการเพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินต่อไปได้ แล้วนานแค่ไหน สักหนึ่งสัปดาห์หรือหนึ่งเดือน หากคุณเป็นธุรกิจที่ขนาดเล็กถึงเล็กมากๆ มีพนักงานเพียงไม่กี่คน ลองคิดดูว่าคุณสามารถพึ่งพาคนในครอบครัวให้ช่วยเหลือหากจำเป็นได้หรือไม่
- หากพนักงานคนใดคนหนึ่งเกิดป่วยเพราะติดเชื้อไวรัส คุณมั่นใจหรือไม่ว่าจะสามารถทำความสะอาดสำนักงานได้อย่างรวดเร็วและถูกวิธี ให้สามารถกลับมาปฏิบัติงานได้ดังเดิม
แต่ละภาคส่วนก็ต้องเผชิญกับความยุ่งยากแตกต่างกันไป แต่การใช้เวลาเพื่อคิดหาทางออกให้กับธุรกิจหากเกิดวิกฤตก็ถือว่าคุ้มค่า จัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้น จากนั้นหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในอนาคต ก็สามารถนำแผนความต่อเนื่องนี้มาใช้ได้เลย หรือจะดัดแปลงเพิ่มเติมจากของเดิมก็ได้เช่นกัน
3. ผลกระทบจากตลาดการเงินและปัญหาห่วงโซ่อุปทาน
นายเบาเออร์กล่าวว่า ตลาดการเงินมักจะเคยชินกับมูลค่าที่สูงของตลาด จนมองข้ามความเป็นไปได้ว่า วันหนึ่งหากเกิดเหตุการณ์หุ้นดิ่งลงอย่างแรงแล้วจะต้องรับมืออย่างไร จนเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงภายในหนึ่งสัปดาห์จากวิกฤตไวัรสโคโรนาในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
นายเบาเออร์กล่าวว่า เจ้าของธุรกิจยังคงสามารถเฝ้าดูความปลอดภัยของการลงทุนในระยะยาวได้อยู่ คิดอีกที มันอาจเป็นช่วงที่เหมาะจะรีไฟแนนซ์หนี้ทางธุรกิจที่สั่งสมมานานแล้วก็ได้ ลองพิจารณาพวกตลาดการเคหะที่มีประวัติอัตราดอกเบี้ยต่ำดู
นายเบาเออร์ชวนให้ลองคิดตามว่า ไวรัสโคโรนาอาจเป็น “ตัวเน้นย้ำหรือกระทั้งตัวเร่งกระแสโลกเข้าสู่ยุคการทวนกระแสโลกาภิวัตน์” ก็เป็นได้
เขาแนะนำให้เจ้าของธุรกิจลองคิดหาวิธีรับมือเกี่ยวกับแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศใหม่ เช่น หากคุณเป็นบริษัทผู้ผลิตขนาดเล็กที่ต้องสั่งซื้อวัสดุจากประเทศจีนหรือประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบ วิกฤตไวรัสนี้อาจเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้คุณลองสำรวจแหล่งจัดซื้ออื่นๆ ที่มั่นคงมากขึ้น
จะเรียกว่าเป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัดก็ไม่ผิดนัก เพราะมีแต่ปัญหาไม่หยุดหย่อนมาตั้งแต่ต้นปี เริ่มที่ปัญหาการขอขึ้นค่าแรงของในศูนย์กลางการผลิตในต่างประเทศอย่างจีน ตามมาด้วยสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ และปัญหาล่าสุด คือ ช่องโหว่ของอุปทานทั่วโลกที่เป็นเหตุมาจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
สำหรับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กถึงเล็กมากที่กำลังดิ้นรนอย่างหนักระหว่างช่วง 1 ถึง 2 เดือนที่ธุรกิจหยุดชะงักนั้น นายเบาเออร์แนะนำให้ตัดค่าใช้จ่ายลงให้ได้มากที่สุด ขอให้พนักงานบางส่วนที่อยู่ในตำแหน่งที่สามารถช่วยได้มาช่วยร่วมแรงร่วมใจให้ธุรกิจยังดำเนินอยู่ได้ หรือหากไม่มีจริงๆ อาจต้องลองถามญาติพี่น้องให้มาช่วยอีกแรง และพูดคุยต่อรองกับธนาคารหรือผู้ให้กู้ก่อนที่กระแสเงินสดของคุณจะหมด
4. แนะแนวคิดเรื่องการออมและการลงทุนกับพนักงาน
“อย่าเพิ่งคิดเรื่องออมเงินเพื่อการเกษียณตอนนี้ ไว้อีก 2 เดือนค่อยมาคิดเถอะ” นายเบาเออร์กล่าว
ย้ำเตือนให้พนักงานของคุณเข้าใจว่า การลงทุนให้งอกเงยในระยะยาวและการออมเพื่อการเกษียณนั้นต้องใช้ระยะเวลา ดังนั้น อย่าไปตกใจกลัวกับข่าวสารด้านการเงินและตลาดลงทุนต่างๆ จนรีบดึงเงินออกจากตลาด ซึ่งจะเป็นการตัดโอกาสที่จะได้ผลกำไรในอนาคต
เนื้อหาที่นำเสนอในบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ และจัดทำขึ้นด้วยความเข้าใจที่ว่า บริษัท Principal® มิได้ให้คำแนะนำด้านกฎหมาย การบัญชี การลงทุน หรือภาษีใดๆ ทั้งสิ้น ผู้อ่านควรปรึกษากับที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่เหมาะสม หรือที่ปรึกษาอื่นๆ ในเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ภาษีหรือการลงทุน